เชื่อเลยว่าอาการนิ้วล็อค เป็นอาการที่ทุกคนต้องเคยเป็นกันอย่างแน่นอนเพราะอาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้ง่ายๆ เพียงแค่ออกไปช้อปปิ้งที่ห้าง หรือเดินในตลาดนัดแถวบ้านก็ตาม แค่เราหิ้วถุงเยอะๆที่นิ้วมือก็ทำให้กล้ามเนื้อมืออันเล็กๆของเราถูกใช้งานหนักจนจนทำให้เกิดอาการนิ้วล็อคได้แล้ว หรือจะเป็นการเล่นมือถือทั้งวัน ทั้งเล่นเกม และตอบแชทเป็นจำนวนมากก็สามารถทำให้นิ้วมือเราเกร็ง กำแบได้ยากลำบากมากขึ้น การเคลื่อนไหวที่นิ้วมือก็ลดลงไปด้วย และอีกสาเหตุที่จะทำให้นิ้วล็อคได้เลยก็คือ การใช้เมาส์และแป้นพิมพ์มากเกินไปในพนักงานออฟฟิศ กราฟิก คนตัดต่อ หรือพนักงานบัญชี เป็นต้น ซึ่งอาการนิ้วล็อคหลักๆ จะมาจากพฤติกรรมการใช้งานนิ้วมือที่มากเกินไป ไม่มีเวลาพัก และมีการกำมือตลอดเวลา ทำให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นที่นิ้วมือต้องเกร็งตัวอยู่ในท่าเดิมซ้ำๆ ทำให้เกิดอาการอักเสบที่เอ็นกล้ามเนื้อมือ ส่งผลให้เกิดอาการปวดข้อมือ ปวดมือ และการใช้งานมือมีประสิทธิภาพลดลง เช่น เขียนหนังสือได้ไม่นาน เหยียดนิ้วมือได้ลำบาก เป็นต้น
โดยอาการนิ้วล็อคจะแบ่งอาการเป็น 4 ระยะด้วยกัน ซึ่งหากเราเป็นระยะแรกๆ ที่มีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วมือ หรือเป็นมากขึ้นก็อาจจะมีการสะดุดของนิ้วมือเวลาเหยียดนิ้ว ซึ่งเราสามารถดูแลอาการเบื้องต้นและ”แก้นิ้วล็อค”ได้ด้วยตัวเองด้วย 5 วิธีง่ายๆ ดังนี้
1. แช่น้ำอุ่น
การแช่น้ำอุ่นจะช่วยทำให้กล้ามเนื้อมือที่มีความตึงตัว เกิดการคลายตัวของกล้ามเนื้อไปได้ และทำให้กล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่นมากขึ้น และช่วยทำให้เกิดการไหลเวียนเลือดได้ดีขึ้นอีกด้วย โดยความร้อนจากน้ำอุ่นจะเป็นเพียงความร้อนชั้นตื้นเท่านั้น ดังนั้นน้ำที่เราเอามาแช่ควรอยู่ในอุณภูมิที่ไม่ร้อนจนเกินเพราะอาจจะทำให้เกิดการเบิร์นของผิวหนังได้ ระยะที่เหมาะสมสำหรับการแช่น่ำอุ่นควรอยู่ประมาณที่ 15-20 นาที
2. บริหารกล้ามเนื้อมือ
การบริหารกล้ามเนื้อจะแบ่งเป็น การยืดกล้ามเนื้อและการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งให้กับกล้ามเนื้อมือ โดยการยืดจะช่วยคลายความตึงตัวของกล้ามเนื้อมือ เพื่อให้กล้ามเนื้อเกิดความยืดหยุ่นและเป็นการเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวของนิ้วมือ โดยระยะเวลาที่เหมาะสมในการยืดกล้ามเนื้อจะอยู่ที่ 15 วินาที/ครั้ง ทำ 3-5 ครั้ง/เซต ทำ 3 เซต/วัน และหากเป็นการออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือ ก็ควรหาอุปกรณ์ที่มีแรงต้านเพื่อให้กล้ามเนื้อมือได้ออกแรง เช่น การบีบบอล หรือใช้ Hand gipper ที่มีแรงต้าน ในการออกกำลังกายที่มือ โดยการออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงควรออก 10ครั้ง/เซต 3 เซต/วัน หรือถ้าหากทำแล้วกล้ามเนื้อร้สึกชิน ไม่หนักเท่าเดิมให้เพิ่มจำนวนครั้งได้ หากเราออกกำลังกายกล้ามเนื้อถูกมัดก็จะรู้สึกเมื่อยกล้ามเนื้อนั้นๆ แต่การยืดและออกกำลังกายจะต้องไม่รู้สึกเจ็บหรือปวดเพิ่ม หากรู้สึกเจ็บหรือปวดเพิ่มควรหยุดพักและรอดูอาการ หากอาการปวดคงคางหรือรุนแรงเพิ่มมากขึ้นควรรีบไปพบแพทย์หรือปรึกษานักกายภาพบำบัด
3. การนวดมือ
การนวดที่ฝ่ามือและตามข้อนิ้วมือก็จะช่วยคลายความตึงตัวของกล้ามเนื้อมือได้ดีเช่นกเดียวกับการแช่น้ำอุ่นเลย โดยการนวดจะนวดลงไปบนบริเวณที่มีอาการปวด โดยต้องไม่ออกแรงกดจนเกินไปเพราะอาจจะทำให้เกิดการบาดเจ็บซ้ำได้ โดยเริ่มจากการกดค้างไปที่บริเวณที่ปวดเพื่อหาตำแหน่งที่ปวดมากที่สุดแล้วกดค้างไว้ประมาณ 30 วินาที แล้วปล่อยออกให้เกิดการไหลเวียนของเลือดมาที่ฝ่ามือ และทำการนวดวนไปบริเวณที่ปวดเพื่อให้กล้ามเนื้อเกิดการคลายตัว
4. การปรับ Work Station
เมื่อเราดูแลตัวเองในเรื่องของการออกกำลังกายไปแล้วก็ต้องส่งเสริมและป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเดิมๆ ซ้ำๆ ตามมาอีก โดยการปรับWork station หรือสภาพแวดล้อมของการทำงานหรือการหาตัวช่วยอย่างอุปกรณ์เสริมเข้าไปในการทำงาน ยกตัวอย่างเช่น การใช้เมาส์และแป้นพิมพ์ การใช้เมาส์ปกติจะทำให้กล้ามเนื้อข้อมือเราบิดไม่ถูกตามแนวสรีระร่างกาย จึงอาจจะทำให้เราปวดข้อมือเมื่อใช้งานไปนานๆได้ จึงควรหาเม้าส์ที่ปรับให้ข้อมือเราอยู่ในแนวตรง จับได้ถนัดมือมากขึ้น ลดการหักของข้อมือ หรือการหาแผ่นรองเมาส์ รองคีย์บอร์ดก็จะช่วยรองรับข้อมือของเราไม่ให้เกิดการเสียดสีระหว่างโต๊ะได้ ทำให้ข้อมือลดการกระแทกกับขอบโต๊ะ และปรับให้ข้อมืออยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องมากยิ่งขึ้น ทำให้คลายเมื่อยกล้ามเนื้อมือขณะใช้งานได้อีกด้วย
5. พักการใช้งานและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง
วิธีสุดท้ายนี้ ถือเป็นวิธีที่สามารถช่วยได้มากเป็นพิเศษแต่การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงก็เป็นสิ่งที่ทำได้ยากเช่นกัน เพราะบางทีความเสี่ยงที่เกิดขึ้นก็มาจากพฤติกรรมการทำงานของเรานั้นเอง เพราะฉะนั้นเราก็ควรตะหนักถึงผลเสียที่จะตามมาและลองคอยๆปรับพฤติกรรมของตัวเอง เช่น หากเราต้องนั่งทำงานใช้เมาส์ แป้นพิมพ์อยู่หน้าคอมเป็นเวลานานกว่า 2 ชั่วโมงขึ้นไป ก็ควรลองตั้งนาฬิกาปลุกเพื่อให้เราลุกไปทำอย่างอื่น หันมายืดกล้ามเนื้อ หรือออกกำลังกายเนื้อมือขณะพัก นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงการยกหรือหิ้วของหนักโดยใช้นิ้วมือเพราะจะยิ่งกระตุ้นให้เกิดการบาดเจ็บซ้ำได้ และหากต้องพักก็ควรพักให้กล้ามเนื้อได้ทำการซ่อมแซม และช่วยทำให้กล้ามเนื้อและเอ็นที่อักเสบเกิดการฟื้นตัวได้ไวกว่าปกติอีกด้วย
การ’แก้นิ้วล็อค”ด้วยตัวเองควรเป็นระยะที่มีอาการเบื้องต้น หากอาการรุนแรงถึงขั้นเหยียดนิ้วออกเองไม่ได้ มีอาการปวดจนรบกวนการทำงาน หรือส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันก็ควรรีบไปปรึกษาแพทย์หรือพบนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการตรวจประเมินร่างกายและรับการรักษาเพื่อแก้ไขสาเหตุของอาการได้อย่างถูกต้องและทันท่วงที
เมื่อยังไม่มีอาการนิ้วล็อค ก็อย่าชะล่าใจ ควรดูแลและป้องกันไว้ก่อน
เมื่ออาการของนิ้วล็อคที่ยังไม่เกิดขึ้น หรือเพียงเริ่มส่งสัญญาณมาให้เราได้รับรู้ก็อย่าปล่อยไว้ควรหาตัวช่วยมาดูแลสุขภาพนิ้วมือของเราเอง ด้วยมินิเซตอุปกรณ์ทำงานในออฟฟิศของ Bewell ไม่ว่าจะเป็น เมาส์ไร้สายเพื่อสุขภาพ แผ่นรองเมาส์ แผ่นรองข้อมือและคีย์บอร์ด และมาพร้อมแผ่นรองโน๊ตบุีคอเนกประสงค์ เพื่อเพิ่มการตกแต่งโต๊ะทำงานให้เรียบหรูดูแพงขึ้นด้วย ด้วยอุปกรณ์ในออฟฟิศนี้จะช่วยทำให้สุขภาพทางกายและจิตใจของคุณยกระดับขึ้น พร้อมกับประสิทธิภาพในการทำงานที่เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย