บทความสุขภาพ

4 เรื่องที่ควรรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ การดูแลผู้ป่วยติดเตียง / ผู้สูงอายุติดเตียง

เตียงผู้สูงอายุ

ผู้ป่วยติดเตียง คือ ผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติ อาจมาจากโรค อุบัติเหตุ หรือการผ่าตัดที่ทำให้ต้องใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่บนเตียงเป็นหลัก โดยผู้ป่วยบางรายอาจเคลื่อนไหวร่างกายได้บางส่วน แต่บางรายไม่สามารถเคลื่อนไหวได้และต้องมีผู้ดูแลตลอดเวลา ดังนั้น การดูแลผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้สูงอายุติดเตียงจึงต้องปรับสภาพแวดล้อม รวมทั้งวิธีการดูแลให้เหมาะสมและอาจแตกต่างไปจากผู้ป่วยทั่วไป ซึ่งเราเข้าใจว่าเหตุการณ์ไม่คาดฝันเหล่านี้มักเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน จนลูกหลานบางคนต้องปรับบทบาทมาเป็น ‘ผู้ดูแล’ โดยไม่ทันตั้งตัว และไม่แน่ใจว่าจะเริ่มจากตรงไหน ต้องปรับเปลี่ยนอะไรบ้าง Bewell เลยรวบรวม 4 เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยติดเตียง/ผู้สูงอายุติดเตียงมาฝากกันในบทความนี้

  • หมั่นพลิกตัวผู้ป่วยและทำกายภาพบำบัด เพื่อป้องกันแผลกดทับ 

เมื่อเราอยู่ในท่านอนนานจนเกินไปทำให้ร่างกายขาดเลือดมาเลี้ยงที่ผิวหนัง โดยเฉพาะบริเวณปุ่มกระดูก หากปล่อยไว้นานๆ อาจเกิดแผลกดทับซึ่งเสี่ยงติดเชื้อและลุกลามเป็นอาการอื่นๆ ที่รุนแรงขึ้นได้ ดังนั้นผู้ดูแลควรดูแลไม่ให้ผิวของผู้ป่วยเปียกชื้น และหมั่นพลิกตัวผู้ป่วยทุกๆ 2 ชั่วโมง หรือเปลี่ยนท่านอน เพื่อลดการกดทับ และเพิ่มการเคลื่อนไหวของร่างกาย รวมทั้งทำกายภาพบำบัด แต่ก่อนทำกายภาพ ควรให้ผู้เชี่ยวชาญดูแลหรือปรึกษานักกายภาพ เพื่อป้องกันการทำกายภาพบำบัดผิดวิธี ซึ่งการขยับร่างกายผู้ป่วยและกายภาพบำบัดนอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงเรื่องแผลกดทับแล้ว ยังลดความเสี่ยงอื่นๆ ได้อีกด้วย เช่น การยึดติดของข้อต่อ กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นหดสั้น ซึ่งมักจะเป็นผลข้างเคียงของผู้ป่วยติดเตียง

  • เฝ้าระวังเรื่องการสำลักและภาวะกลืนลำบาก

ผู้ป่วยติดเตียงมีโอกาสที่จะเกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง จนส่งผลต่อการรับประทานอาหาร เช่น ภาวะกลืนลำบาก ความเสี่ยงสำลักอาหาร ซึ่งสามารถป้องกันได้ด้วยการเลือกอาหารเหลวเพื่อให้ทานง่ายขึ้น ปรับท่านั่งที่ไม่ก้ม/แหงนหน้าเวลาทานอาหาร โดยพนักพิงหลังควรอยู่ที่ 45-90 องศา โดยอาจจะใช้ตัวช่วยอย่าง เตียงปรับระดับไฟฟ้า หรือเตียงผู้สูงอายุ เพื่อสามารถทานอาหารได้สะดวกและปลอดภัยขึ้น โดยไม่ต้องพยุงหรือเคลื่อนย้ายตัวผู้ป่วยออกจากเตียง

  • การดูแลผู้ป่วยติดเตียง กับความสะอาดภายในห้อง 

นอกจากการเช็ดตัวทำความสะอาดร่างกายแล้ว ควรดูแลความสะอาดของอุปกรณ์ เช่น เปลี่ยนสายสวนปัสสาวะทุก 2-4 สัปดาห์ ทำความสะอาดห้องและเครื่องนอนอย่างสม่ำเสมอ จัดห้องให้มีแสงแดดส่องถึงและอากาศถ่ายเท เพื่อความปลอดภัยและลดโอกาสการติดเชื้อให้กับผู้ป่วย

  • การดูแลสุขภาพใจเป็นเรื่องสำคัญ

ด้วยสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไปอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอึดอัด เบื่อหน่าย จนส่งผลต่อสภาพจิตใจและอารมณ์ที่แปรปรวนได้ ซึ่งลูกหลานหรือผู้ดูแล อาจเริ่มดูแลสุขภาพใจของผู้ป่วยได้ตั้งแต่การจัดสภาพแวดล้อมในห้องให้น่าอยู่ อากาศถ่ายเท หมั่นพูดคุยรับฟัง สังเกตอารมณ์ของผู้ป่วย ไปจนถึงการหากิจกรรมที่ได้มีส่วนร่วมกับคนในครอบครัว เช่น ดูหนัง รายการยูทูบ เปิดหนังสือเสียง  

อย่างไรก็ตาม พื้นฐานสำคัญของ การดูแลผู้ป่วยติดเตียง / ผู้สูงอายุติดเตียง คือการมีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรง ดังนั้นนอกจากการดูแลผู้ป่วยแล้ว ผู้ดูแลต้องไม่ละเลยการดูแลสุขภาพกายและใจของตัวเองด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการให้เวลาตัวเองได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ หรือหาอุปกรณ์เสริมที่ช่วยบรรเทาความเหนื่อยล้า หนึ่งในนั้นคือเตียงผู้สูงอายุที่มีฟังก์ชั่นหลากหลาย พร้อมรีโมตที่ปรับได้แบบอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็นการปรับให้อยู่ในท่านั่งโดยไม่ต้องใช้แรงพยุงหรือใช้หมอนซ้อนกันเพื่อพิงหลัง ไปจนถึงการปรับความสูง-ต่ำของเตียง ช่วยให้ทำกายภาพบำบัด ทำความสะอาดเตียงได้ง่ายขึ้น ซึ่งหากสนใจเตียงผู้สูงอายุของ Bewell สามารถเข้ามาทดลองสินค้าจริง พร้อมปรึกษานักกายภาพบำบัดทั้งเรื่องเตียงไฟฟ้าและการดูแลผู้สูงอายุได้ที่หน้าสาขาของ Bewell ทุกสาขา

Slide
ฟรี! ปรึกษาปัญหาด้านสุขภาพ
ปรับท่านั่งทำงานที่ถูกต้อง
ตามหลัก Ergonomics

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *