โรคกระดูกสันหลังเสื่อม เป็นโรคที่มักเกิดจากร่างกายที่เสื่อมสภาพตามอายุที่มากขึ้น แต่พฤติกรรมในการใช้ชีวิตก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้กระดูกสันหลังเสื่อมได้ก่อนเวลาอันควร โดยสาเหตุที่อาจทำให้กระดูกเสื่อมของคนวัยทำงานจะมีสาเหตุดังต่อไปนี้
- นั่งทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์นาน ๆ เพราะการนั่งนาน ๆ จะทำให้ร่างกายใช้กล้ามเนื้อและมีแรงกดทับไปลงที่กระดูกสันหลัง หากต้องนั่งทำงานเป็นระยะเวลานาน แนะนำให้เพิ่มตัวช่วยที่ทำให้นั่งสบาย และลดแรงกดทับในระหว่างที่นั่งทำงานอย่าง เบาะรองหลังและเบาะรองนั่งเพื่อสุขภาพ Back&Seat Ergocushion Series
- การแบกของหนัก ๆ ทุกวัน จนทำให้กล้ามเนื้อแบกรับภาระสูง ก่อให้เกิดการล้าและอักเสบ นำไปสู่อาการปวดเรื้อรัง หรือที่อาการที่หลาย ๆ คนรู้จักกันดี คือ อาการออฟฟิศซินโดรม
- การนอนที่ไม่เหมาะสม โดยหมอนอาจสูงเกินไป จนทำให้กระดูกสันหลังไม่อยู่ในระนาบเดียวกันกับพื้นผิวที่นอน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของอาการปวดคอ ปวดหลังได้
- การสะพายกระเป๋าหนัก ๆ ให้เกิดอาการปวดไหล่ หรือสวมรองเท้าส้นสูงที่ทำให้กล้ามเนื้อหลังและสะโพกก็ต้องทำงานหนัก
- น้ำหนักตัวมาก หรือคนที่มีรูปร่างอ้วน จะส่งผลทั้งการยืนและการนั่ง กล้ามเนื้อต้องทำงานหนักเพื่อรองรับน้ำหนักตัว รวมทั้งกระดูกสันหลังที่ต้องคอยแบกรับน้ำหนักด้วย และส่งผลต่ออาการเสื่อมของกระดูกสันหลังได้ในที่สุด
อาการของโรคกระดูกสันหลังเสื่อม
- เมื่อกระดูกสันหลังเสื่อม จะทำให้ไม่สามารถรับน้ำหนักของร่างกายได้ โดยอาการที่จะเกิดขึ้น คือ อาการปวดหลัง ซึ่งอาจเกิดได้ในระหว่างการยืนนาน ๆ การนั่งนาน ๆ หรือการเดินทาง ๆ และจะเริ่มมีอาการปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามระดับของความเสื่อม
- มีอาการปวดร้าวจากหลังลงไปที่ขาถึงเท้า และมีอาการชา รวมไปถึงอาการอ่อนแรงได้ จากอาการที่เกิดจากการกดทับบริเวณรากประสาทไขสันหลัง
ขั้นตอนในการรักษาโรคกระดูกสันหลังเสื่อมของแพทย์ในปัจจุบัน
แพทย์จะทำการรักษาตามขั้นตอนโดยเริ่มจากการใช้ยา ทำกายภาพบำบัด การฉีดยาเข้าบริเวณโพรงประสาทสันหลัง ไปจนถึงการรักษาด้วยการเข้ารับการผ่าตัดหลังเพื่อแก้ไขปัญหาหลัก ๆ 2 จุด คือ แก้การกดทับของเส้นประสารท โดยแพทย์จะทำการผ่าตัดขยายโพรงประสาทสันหลัง และแก้ไขปัญหาความไม่มั่นคงของกระดูกสันหลัง หรือกระดูกสันหลังเคลื่อนโดยการผ่าตัดใส่โลหะยึดตรึงข้อกระดูกให้แน่นขึ้นนั่นเอง
พอรู้กันแบบนี้แล้ว ชาวออฟฟิศแบบเราก็ไม่ควรหักโหมทำงานหนักมากจนเกินไป หากต้องนั่งทำงานเป็นระยะเวลานานจริง ๆ แนะนำให้พักเบรก เพื่อลกอาการเมื่อยล้าสัก 10 นาทีในทุก ๆ ชั่วโมง และมองหาอุปกรณ์เสริมมาช่วยให้นั่งทำงานได้สบายขึ้น
Ergocushion Series นวัตกรรมเบาะรองหลัง และเบาะรองนั่งเพื่อสุขภาพ ที่ออกแบบตามหลัก Ergonomics ร่วมกับนักกายภาพผู้เชี่ยวชาญ
เซ็ตเบาะรองนั่งและเบาะรองหลังเพื่อสุขภาพ