รีวิวผลิตภัณฑ์

ท่านั่งที่ถูกต้อง เป็นแบบไหน ? ชวนรู้จัก 3 สเต็ปง่ายๆ ที่ช่วยให้นั่งทำงานได้แบบไม่ปวดหลัง

ทำยังไงให้เลิกนั่งตัวงอ ?

ทำไมนั่งเก้าอี้แล้วตัวไหลบ่อยๆ ? 

ควรนั่งชิดหรือห่างจากพนักพิงกันแน่ ?

Bewell Review วันนี้ จะพาทุกคนไปหาคำตอบกันว่า ‘ท่านั่งที่ถูกต้อง’ เป็นแบบไหน ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญเพราะช่วยลดความเสี่ยงออฟฟิศซินโดรมและลดอาการปวดเมื่อยจากการนั่งทำงานติดต่อกันเป็นเวลานาน ทั้งยังเป็นตัวช่วยประกอบการตัดสินใจก่อนซื้อเบาะรองนั่ง เบาะรองหลัง ไปจนถึงเก้าอี้เพื่อสุขภาพโดยวิธีการเช็คท่านั่งที่ถูกต้อง สามารถสรุปง่ายๆ ได้ 3 สเต็ปด้วยกัน คือ ‘ชิด ฉาก ราบ’

ชิด

ชิด คือก้นและหลังชิดพนักพิงเก้าอี้ นั่งหลังตรง ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญ เพราะกล้ามเนื้อเราจะได้รับการซัพพอร์ตและผ่อนคลายมากขึ้น

ฉาก

ฉาก คือส่วนที่ต้องงอ อย่างมุมศอก มุมเข่า ควรจะอยู่ที่ 90-100 องศา เพื่อไม่ให้ไหล่ยกจนเกร็ง เช่นเดียวกับข้อพับของเราที่ควรจะงอเป็นมุมฉาก เพราะถ้าเป็นมุมป้าน ตัวเราจะไหลจนร่างกายผิดสรีระไปด้วย แต่ถ้าเข่างอมากเกินไป อาจทำให้เกิดการกดทับบริเวณข้อพับได้  

ราบ

ราบ คือเท้าวางราบกับพื้น มือและแขนวางราบขนานกับเมาส์และแป้นพิมพ์  จากนั้นปรับให้ทุกอย่างพอดีกับระดับสายตา โดยระยะห่างระหว่างตัวเรากับหน้าจอควรอยู่ที่ประมาณ 1 ช่วงแขน ส่วนระดับสายตาควรจะอยู่ที่ปลายขอบจอด้านบน

การปรับท่านั่งให้ถูกต้องแบบนี้ช่วยให้ร่างกายของเราสมดุล นั่งสบายขึ้น และไม่เกร็ง ซึ่งถ้ายังรู้สึกเกร็งและไม่สบายตัว อาจจะต้องมาเช็คท่านั่งอีกครั้ง หรือหากรู้สึกว่าเก้าอี้ไม่ซัพพอร์ตจริงๆ เช่น ปรับเก้าอี้ขึ้นสุดแล้ว แต่ตัวก็ยังไหล เพราะเก้าอี้เล็กเกินไป หรือนั่งหลังชิดเก้าอี้ไม่ได้เพราะเบาะใหญ่ไป ก็อาจจะใช้อุปกรณ์เสริมมาเป็นตัวช่วย หรือเปลี่ยนเก้าอี้ตัวใหม่ที่ช่วยซัพพอร์ตการนั่งที่ถูกต้องมากขึ้น

แต่ไม่แน่ว่าแค่การปรับท่านั่งให้ถูกต้องก็อาจจะเพียงพอแล้ว โดยไม่ต้องซื้ออุปกรณ์เสริมมาเยอะๆ ก็เป็นได้ แถมยังประหยัดค่ารักษาออฟฟิศซินโดรม ยืดเวลาให้สุขภาพเราแข็งแรงไปนานๆ เพราะเราเชื่อว่า แค่ปรับสิ่งเล็กๆ สุขภาพของเราก็ดีขึ้นได้แล้ว

Bewell Review EP9 : ท่านั่งที่ถูกต้องเป็นแบบไหน ? รวมวิธีเช็คว่านั่งยังไงไม่ให้เป็นออฟฟิศซินโดรม

Slide
ฟรี! ปรึกษาปัญหาด้านสุขภาพ
ปรับท่านั่งทำงานที่ถูกต้อง
ตามหลัก Ergonomics

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *