ปัญหาปวดบ่า ปวดไหล่ เป็นเรื่องที่เราพบเจอกันได้ง่ายๆ เพราะเป็นอาการหนึ่งของโรคในกลุ่มออฟฟิศซินโดรมที่ผู้คนยุคใหม่มักจะมีปัญหากัน สาเหตุเบื้องต้นของอาการปวดบ่าปวดไหล่ก็มักจะมาจากการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวันที่เราต้องอยู่ในท่าเดิมๆ บางคนก็ปวดบ่าปวดไหล่บ้างแต่ไม่มาก ในขณะที่หลายคนมีอาการปวดบ่าปวดไหล่แบบเรื้อรัง เรียกว่า เป็นๆ หายๆ แต่ไม่หายขาดสักที สร้างความรำคาญใจเป็นอย่างมาก วันนี้ Bewell เลยจะพาทุกคนไปเรียนรู้วิธีแก้ไขปัญหาปวดบ่าปวดไหล่ ในสไตล์ญี่ปุ่นกัน เผื่อจะเป็นทางเลือกให้ทุกๆ คนไปทดลองทำเพื่อรักษาอาการไหล่ติด ปวดบ่า ปวดไหล่กันต่อไป
แก้ไขอาการปวดบ่า ปวดไหล่ บ่าไหล่ตึง ด้วยการเคลื่อนกระดูกสะบัก
อาการปวดบ่า ปวดไหล่นั้น เป็นปัญหาด้านสุขภาพที่สำคัญของชาวญี่ปุ่นเช่นเดียวกับคนไทยเรา กล่าวกันว่าปัญหาสุขภาพอันดับต้นๆ เกี่ยวกับร่างกายของผู้หญิงชาวญี่ปุ่นจะมีเรื่องเกี่ยวกับการปวดข้อ ปวดบ่า ปวดไหล่ และปวดเอวอยู่ด้วย ดังนั้น วิธีการแก้ไขปัญหาอาการปวดบ่าปวดไหล่ จึงเป็นอะไรที่มาแรงมากในสังคมญี่ปุ่น มีการพูดถึงเรื่องนี้กันอย่างหลาก และแนวทางหนึ่งที่ได้รับการยอมรับมากๆ ในการดูแลสุขภาพร่างกาย รักษาอาการปวดบ่าปวดไหล่ได้ดี ของก็คือแนวคิดที่เกี่ยวกับการเคลื่อนกระดูกสะบักให้ขยายออกมากขึ้น เพื่อทำให้หายปวดบ่าปวดไหล่นั่นเอง
กระดูกสะบัก มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับอาการปวดบ่าปวดไหล่อย่างมาก เพราะสะบักเป็นกระดูกส่วนหนึ่งที่อยู่บนแผ่นหลัง มีความสำคัญในการช่วยให้แขนเคลื่อนไหวได้และมีกำลังยกของหนัก เป็นจุดสำคัญของกล้ามเนื้อหลายมัด เช่น supraspinatus , infraspinatus , subscapularis ซึ่งในทางกายวิภาคศาสตร์ บ่า ไหล่ และสะบัก ไม่สามารถแยกจากกันได้โดยสิ้นเชิง เพราะถูกเชื่อมต่อกันด้วยข้อต่อ เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อ ดังนั้น หากกระดูกสะบักของเราทำงานได้ไม่ดี เคลื่อนไหวไม่ค่อยสะดวก ก็มีโอกาสที่จะส่งผลให้เกิดอาการปวดบ่าปวดไหล่ได้
มาทดสอบกันหน่อยกระดูกสะบักเราทำงานได้ดีแค่ไหน
หากเราอยากจะทราบว่าตัวเราเองนั้นมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการปวดบ่าปวดไหล่ สักแค่ไหน เราสามารถทดลองได้ด้วยการวัดว่า “สะบัก” ของเรายังคงเคลื่อนที่ได้ดีหรือเปล่า โดยมีขั้นตอนง่ายๆ ในการทดสอบ ดังนี้
- ยืนพิงกำแพงหรือฝาผนัง โดยยืนเอาส้นเท้าชิดติดฝาผนัง ศรีษะและแผ่นหลังก็ชิดติดนังด้วย
- จัดระเบียบร่างกายให้รู้สึกผ่อนคลาย ตัวตรงแนบกับผนัง
- ยกแขนทั้งสองข้างขึ้นอย่างช้าๆ โดยแขนทั้งสองข้างต้องแนบกับผนัง
- วัดองศาดูว่าเราสามารถยกแขนขึ้นได้สูงสูดที่ระยะประมาณกี่องศา
มาดูกันสิว่า สะบักเราเคลื่อนที่ได้หรือเปล่า เรามีโอกาสจะปวดบ่า ปวดไหล่ หรือไม่
- ยกแขนสองข้างเข้าหากันได้ มากกว่า 60 องศา
ถือว่าสะบักไหล่ยังเคลื่อนไหวได้ดี คุณเจ๋งมากเลยล่ะ
- ยกแขนได้ ประมาณ 45 – 60 องศา
คุณกำลังมีความเสี่ยงที่จะปวดบ่าปวดไหล่ ในอนาคตอันใกล้ เพราะตอนนี้บ่าไหล่ของคุณเริ่มตึงแข็ง และการเคลื่อนที่ของสะบักไม่ยืดหยุ่นเท่าที่ควรแล้วนะ
- ยกแขนได้น้อยกว่า 45 องศา
ยินดีต้อนรับสู่โลกของคนปวดบ่าปวดไหล่ แน่นอนแล้วว่าคุณกำลังประสบกับภาวะไหล่ตึง และมีอาการปวดบ่าปวดไหล่ แต่ไม่ต้องตกใจนะ เรามีเคล็ดลับดีๆ ในการแก้ไขอาการ ปวดบ่าปวดไหล่มาฝากด้วย
ปวดบ่า ปวดไหล่ แก้ไขยังไงดี
คุณหมอชาวญี่ปุ่นท่านหนึ่งกล่าวว่า การปวดบ่าปวดไหล่นั้นสำคัญอยู่ที่กระดูกบริเวณสะบัก เพราะกระดูกบริเวณนี้ทำหน้าที่เป็นฐานสำคัญของกลุ่มกล้ามเนื้อที่ช่วยในการพยุงคอ ถ้ากระดูกสะบัดติดขัด เคลื่อนไหวไม่ค่อยได้หรือเคลื่อนไหวได้ไม่ค่อยดี ก็จะส่งผลให้เกิดปัญหา ปวดบ่า ปวดไหล่ ปวดคอ หรืออาการกลุ่มออฟฟิศซินโดรมได้ง่าย ในขณะเดียวกันหากกระดูกและกล้ามเนื้อบริเวณสะบักได้รับการดูแลที่ดี มีการเคลื่อนไหวบ่อยๆ มีความยืดหยุ่น อาการปวดบ่าปวดไหล่ก็มักจะไม่มี ซึ่งจากการศึกษาค้นคว้าของคุณหมอท่านนี้พบว่า อาชีพที่จะมีกล้ามเนื้อบ่าไหล่สะบักแข็ง เคลื่อนไหวได้ไม่ดี มีอาการปวดบ่า ปวดไหล่ ก็คือกลุ่มคนที่ทำงานในท่าเดิมนานๆ และอยู่ในพื้นที่จำกัด เช่น พนักงานออฟฟิศที่นั่งหน้าคอมพิวเตอร์นานๆ หรือคนขับแท็ก ในขณะที่พระภิกษุสงฆ์และพนักงานทำความสะอาด ที่เคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอกลับไม่พบปัญหาเหล่านี้ เมื่อพิจารณาดูก็พบว่าทั้งพระสงฆ์และพนักงานทำความสะอาด มีการเคลื่อนไหวบริเวณสะบักอยู่เสมอเพราะต้องเช็ดกระจกหรือทำความสะอาดบริเวณวัด คุณหมอจึงดัดแปลงท่าทางเหล่านั้นมาเป็นท่าในการรักษาอาการปวดบ่า ปวดไหล่ ดังนี้
- ท่าที่หนึ่งเช็ดกระจก
ให้เรายืนหันหน้าเข้าหาฝาผนัง ยืดแขนขวาออกไปด้านข้าง ทำท่าเหมือเช็ดกระจกโดยวาดมือจากขวาไปซ้ายให้สุดแขน แล้ววาดกลับมาช้าๆ หลังจากนั้นสลับทำอีกข้าง
- ท่าหมุนบ่าไหล่
ให้เรายืนตัวตรง กางขาเล็กน้อย กางศอกทั้งสองข้าง แล้วยกศอกขึ้นเหนือบ่า ค่อยๆ หมุนศอกไปด้านหลังอย่างช้า เราจะรู้สึกตึงและในบางท่านอาจจะมีเสียงดัง ท่านี้ช่วยผ่อนคลายบ่าไหล่และสะบักได้ดี เป็นท่าที่ควรจะทำมากๆ
ใครที่เริ่มรู้สึกว่ามีปัญหาปวดบ่าปวดไหล่ให้ทำ 2 ท่านี้ทุกวัน ท่าละ 3 ครั้งเป็นอย่างน้อย ก็จะมีอาการที่ดีขึ้น ส่วนใครที่ยังไม่รู้สึกปวดบ่าปวดไหล่ ก็ใช้ท่านี้ในการบริหารสะบักได้นะคะ ถือว่าป้องกันไว้ดีกว่าแก้ เพราะการบริหารร่างกายไว้ก่อนยังไงก็ดีกว่าการมารักษาอาการปวดอยู่แล้วค่ะ
ถ้าหากแค่ 2 ท่าไม่เพียงพอ ลองออกกำลังกายด้วยยางยืดบริหารไหล่ อ่านเพิ่มเติม : บริหารไหล่ด้วยยางยืดออกกำลังกาย