บทความสุขภาพ

Scoliosis หลังคด เกิดได้เพียงแค่นั่งผิดท่า

หลังคด Bewell

หลังคด เป็นอีกหนึ่งโรคที่สามารถเกิดขึ้นกับได้กับทุกช่วงวัย ไม่ว่าจะเป็นเด็ก วัยรุ่น หรือแม้แต่วัยทำงานก็สามารถเกิดความผิดปกติของกระดูกสันหลังได้ ซึ่งสาเหตุของการเกิด กระดูกสันหลังคด ก็มีอยู่ด้วยกันหลากหลายเหตุ เช่น การผิดปกติของโครงสร้างร่างกาย หรือ การใช้งานของกล้ามเนื้อที่ไม่สมดุลกัน เป็นต้น แล้วจะมีรายละเอียดอะไรที่น่าสนใจเกี่ยวกับอาการกระดูกสันหลังคด และจะมีวิธีป้องกันหรือข้อควรระวังอะไรที่สามารถเตือนให้เราตระหนักรู้ไว้ก่อนได้ ตามไปอ่านกันเลย 

มารู้จักกับ หลังคด หรือ Scoliosis

หลังคด Bewell

ถ้าพูดถึงอวัยวะในร่างกายที่ทำให้ร่างกายเราเป็นรูปร่าง หรือสามารถตั้งอยู่ได้ ก็ต้องยกให้กระดูกทั้งหมด 206 ชิ้น ที่เป็นส่วนที่ค้ำจุนร่างกายให้มั่นคงในทุกการเคลื่อนไหว ไม่ว่าจะเป็นการเดิน นั่ง นอน หรือวิ่งก็ตาม ซึ่งหากกระดูกของคนเรามีส่วนที่ผิดปกติไปจากเดิมก็อาจทำให้ร่างกายของคนเราเกิดภาวะแทรกซ้อนหรืออาการบาดเจ็บอื่น ๆ ตามมาได้ อย่างกระดูกส่วนที่สำคัญของร่างกายอย่าง กระดูกสันหลัน ที่เป็นส่วนที่คอยค้ำจุนส่วนแกนกลางร่างกายไว้ หากกระดูกส่วนนี้มีโครงสร้างที่ผิดปกติไปจากแนวปกติ เช่น การคดเป็นรูปตัว S หรือ ตัว C ซึ่งเมื่อกระดูกสันหลังอยู่ในสภาวะคด ทำให้กระทบต่อกระดูกในส่วนอื่น ๆ เช่น ทำให้กระดูกสะบักยกขึ้น ทำให้ไหล่ไม่เท่ากัน กระดูกช่วงสะโพกมีการโยกไปคนละทางกับส่วนของกระดูกสันหลังส่วนอก ส่งผลให้ลักษณะร่างกายเราไม่สมดุลหรือตัวเอียงได้ ซึ่งเมื่อร่างกายไม่อยู่ในแนวที่ถูกต้อง ก็เลยทำให้มีอาการปวดหลัง ปวดเอว หรือปวดตามร่างกายตามมาได้ หรืออาจร้ายแรงจนไปกดเบียดอวัยวะอื่น ๆ เช่น ปอด หัวใจ ทำให้ระบบการหายใจมีประสิทธิภาพลดลงได้ 

หลังคด ไม่ได้มีแค่ประเภทเดียว

หลังคด Bewell

การเกิดกระดูกสันหลังคดนั้นมีอยู่ด้วยกันหลากหลายสาเหตุด้วยกัน ถ้าให้แบ่งง่าย ๆ ก็จะแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้ 

  1. กระดูกสันหลังคดที่ไม่ทราบสาเหตุ ( Idiopathic scoliosis) ซึ่งในบางรายอาจมีพันธุกรรมเข้ามาเกี่ยวข้องได้ โดยส่วนใหญ่จะพบในเด็กสามารถพบได้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 18 เลยทีเดียว 
  2. กระดูกสันหลังคดแบบทราบสาเหตุ ก็จะมีอยู่ด้วยกันหลายสาเหตุ ยกตัวอย่างเช่น 
  • กระดูกสันหลังคดจากท่าทางที่ผิด (Functional scoliosis) อาจเกิดจากความผิดปกติตรงส่วนอื่นของร่างกาย เช่น การบาดเจ็บ ขาสั้นยาวไม่เท่ากัน หรือการทำกิจกรรมนั้นในท่าทางที่ผิดอยู่เป็นประจำ อย่างการนั่งทำงานในท่าไขว้ห้าง หลังค่อม หลังงอ ก็อาจทำให้แนวกระดูกสันหลังอยู่ในแนวที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้กล้ามเนื้อทำงานไม่สมดุล จนเกิดการเกร็งตัวซ้ำ ๆ ก็อาจทำให้เกิดภาวะกระดูกสันหลังคดชั่วคราวจากพฤิตกรรมที่ไม่เหมาะสมนี้ได้ 
  • กระดูกสันหลังคดแต่กำเนิด (Congenital scoliosis) โดยอาจเกิดได้จากความบกพร่องในการสร้างของกระดูกไขสันหลัง และเนื่องจากพบตั้งแต่เด้กอาจถูกวินิฉัยว่าเป็นกระดูกสันหลังคดแบบไม่สาเหตุได้ 
  • กระดูกสันหลังคดจากโรคประสาทกล้ามเนื้อ (Neuromuscular scoliosis) เป็นกลุ่มที่พบความผิดปกติของสมองและกล้ามเนื้อ อาจเกี่ยวกับโรคพิการทางสมอง (Cerebral palsy) หรือโรคทางระบบประสาทตรงไขสันหลัง (spina bifida) หรือโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงจากระบบประสาททำงานผิดปกติ เป็นต้น 
  • กระดูกสันหลังเสื่อม (Degenerative lumbar scoliosis) เกิดขึ้นในผู้สูงอายุ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกระดูกสันหลังจากการใช้งานหนักติดต่อกันเป็นเวลานาน 

การดูแลและรักษา หลังคด 

หลังคด Bewell

กระดูกสันหลังคด ถ้ารู้ตัวเร็วก็สามารถรักษาและแก้ไข โดยการรักษาก็แบ่งไปตามความรุนแรงที่เกิดขึ้น โดยหากมุมของกระดูกสันหลังมีการคดไปมากกว่า 50 องศา และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต แพทย์ก็แนะนำให้ผ่าตัดเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนและความพิการที่อาจเกิดขึ้นได้หากปล่อยทิ้งไว้ แต่ถ้ากระดูกสันหลังคดไม่มากก็จะแนะนำให้ทำกายภาพบำบัดเพื่อรักษาความโค้งของกระดูกสันหลังไม่ให้คดไปมากกว่าเดิม หรือออกกำลังกายให้กล้ามเนื้อช่วยปรับแนวกระดูกสันหลังให้กลับมาปกติ และนอกจากนี้ยังต้องร่วมกับการปรับพฤติกรรมในการใช้ชีวิตด้วย ไม่ว่าจะเป็นท่าทางในการนั่ง ยืน รวมถึงการนอน จะต้องคอยตระหนักท่าทางทุกครั้งที่นึกขึ้นได้ เพื่อปรับให้ร่างกายเกิดการเรียนรู้และจดจำสิ่งที่ถูก เช่น การนั่งทำงานก็ควรอยู่ในลักษณะ คอตั้งตรง หลังตรงหรือหาเบาะมารองหลังเพื่อซัพพอร์ตหลังขณะนั่ง มุมสะโพกและเข่าทำมุมประมาณ 90-120 องศา เท้าวางราบกับพื้น และคอยหลีกเลี่ยงท่านั่งไขว่ห้างที่อาจส่งเสริมให้เกิดกระดูกสันหลังคดเพิ่มขึ้นได้นั่นเอง 

ไม่ยาก ถ้าไม่อยากหลังคด 

ต้องบอกก่อนว่าตัวเบาะรองหลัง และเบาะรองนั่ง คงไม่ใช่ตัวช่วยที่จะห้ามการเป็นกระดูกสันหลังคด แต่จะมาเป็นตัวช่วยที่ซัพพอร์ตการนั่งของเราให้อยู่ในท่าที่เหมาะสมและเกิดความสบายขณะนั่งมากขึ้น เมื่อเราได้ท่านั่งที่ถูกแล้วก็เป็นการลดความเสี่ยงที่เกิดท่านั่งที่ไม่เหมาะสม ที่อาจส่งผลกระทบต่อแนวกระดูกสันหลังของเราได้นั่นเอง แต่สิ่งสำคัญเลยก็อย่าลืมลุกออกจากที่นั่งในการทำงาน ทุก ๆ 1-2 ชั่วโมงกันบ้าง เพื่อให้ร่างกายได้ผ่อนคลายและเป็นการเปลี่ยนอิริยาบถจากท่าทางเดิม ๆ ได้ด้วยนะคะ หากสนใจเบาะรองหลัง รองนั่ง ก็กดสั่งไปไว้ที่ตระกร้ากันได้เลย 

Slide
ฟรี! ปรึกษาปัญหาด้านสุขภาพ
ปรับท่านั่งทำงานที่ถูกต้อง
ตามหลัก Ergonomics

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *