บทความนี้เขียนเพื่อหนุ่มสาวชาวออฟฟิศโดยเฉพาะเลย หรือผู้ที่นั่งท่าเดิมๆ เป็นเวลานาน ไม่ว่าจะขับรถ หรืออะไรก็แล้วแต่ รวมถึงสาวมั่นทันสมัยที่ชอบนั่งไขว้ห้างอยู่ประจำ ควรต้องมารู้จักกับ กระเบนเหน็บ อาการที่เป็นกันเยอะ แต่น้อยคนที่จะรู้จักมัน
รู้จักกับกระเบนเหน็บกันก่อน
ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า อาการปวดกระเบนเหน็บเป็นอาการที่เกิดขึ้นที่กระดูกสะโพกส่วนล่าง หรือกระดูกข้อสะโพก จุดที่เชื่อมต่อระหว่างปลายกระดูกสันหลัง กับกระดูกเชิงกราน ซึ่งทำให้สับสนกับโรคของกระดูสันหลังมากๆ อาการปวดกระเบนเหน็บ ก็เกิดจากการที่ภาวะกระดูกข้อต่อก้นกบมีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ เนื่องจากกระเบนเหน็บเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างร่างกายส่วนบน (กระดูกสันหลัง) กับร่างกายส่วนล่าง (กระดูกเชิงกราน) เลยทำให้รอบๆ กระเบนเหน็บรายล้อมไปด้วยเอ็น ข้อต่อต่างๆ มากมาย การเคลื่อนไหวที่ผิดปกติของกระดูกข้อต่อก้นกบนี้ เช่น เคลื่อนไหวน้อยลง มากเกินไป หรือมีการยึด ติด รั้งของเส้นเอ็นที่ยึดข้อกระดูกต่างๆ ไว้ หรือมีความยิมนาสติกมากจนทำให้กระดูกวางตัวผิดตำแหน่ง ก็เป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวดกระเบนเหน็บเช่นกัน
เพราะแบบนี้ไง จึงปวดกระเบนเหน็บ
-
หนุ่มสาวชาวออฟฟิศที่นั่งทำงานท่าเดิมๆ ทั้งวัน
-
คนที่ขับรถเป็นเวลานานๆ ก็มีโอกาสปวดกระเบนเหน็บด้วย
-
คนที่ชอบนั่งไขว้ห้างเป็นประจำ นั่งเมื่อไหร่ ไขว้ห้างเมื่อนั้น
-
คนที่ชอบบิดตัวจนเกิดเสียงดังของกระดูกจนเป็นนิสัย
-
คนที่เคยล้มก้นกระแทก หรืออุบัติเหตุทางรถยนต์
-
นักกีฬาที่อาจจะไม่อบอุ่นร่างกาย ก่อนใช้กำลังแบบเหวี่ยงๆ แรงๆ หรือใช้แขนขาข้างใดข้างหนึ่ง เป็นประจำ
-
ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ หรือหลังตั้งครรภ์ ก็มีโอกาสปวดกระเบนเหน็บได้ง่ายๆ
-
คนที่มีภาวะหลังคด กระดูกสันหลังผิดรูป ขาสั้นยาวไม่เท่ากัน
การรักษา หรือป้องกันอาการปวดกระเบนเหน็บ
การที่แพทย์จะวินิจฉัยให้มั่นใจว่าเป็นโรคกระเบนเหน็บนั้น ต้องมาจากการซักประวัติอย่างเดียวเลย เนื่องจากอาการปวดกระเบนเหน็บนี้ ไม่สามารถ X-ray หรือใช้ภาพถ่ายทางรังสีมาวินิจฉัยได้ สำหรับการรักษาอาการปวดกระเบนเหน็บนั้น ก็มี 2 แบบใหญ่ๆ คือ การรักษาแบบผ่าตัด กับการรักษาแบบไม่ผ่าตัด ซึ่งการรักษาโดยการผ่าตัด จะใช้สำหรับผู้ที่ปวดกระเบนเหน็บมากๆ แบบกระทบกับกิจวัตรประจำวัน และซึ่งในปัจจุบันการผ่าตัดกระเบนเหน็บก็เป็นลักษณะการผ่าตัดแบบแผลเล็ก เสียเลือดน้อย ไม่เหมือนกับในอดีตแล้ว
การรักษาโดยไม่ได้ผ่านการผ่าตัดนั้นมีหลายวิธีมากๆ บางวิธีก็นับว่าเป็นวิธีการป้องกันด้วยซ้ำ วิธีการรักษาแบบไม่ผ่าตัดก็มีตั้งแต่ การจี้ข้อเชิงกรานด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง ซึ่งเป็นวิธีที่ได้มาตรฐาน และได้ผลดี แถมไม่ต้องผ่าตัดอีกด้วย รองลงมาก็จะเป็นการฉีดยาชา และยาต้านการอักเสบเข้าในข้อเชิงกราน แต่วิธีนี้แพทย์จะต้องทราบจุดที่ทำให้เกิดอาการปวดอย่างแม่นยำ วิธีที่ 3 เบสิกที่สุด คือการทานยาแก้ปวด และวิธีสุดท้ายที่คล้ายๆ กับการป้องกันอาการปวดกระเบนเหน็บก็ว่าได้ คือการทำกายภาพบำบัด ซึ่งต้องทำกับแพทย์ที่มีความชำนาญในการทำกายภาพเกี่ยวกับกระดูกเชิงกราน แต่การป้องกันที่ทำเองได้ และง่ายอย่างคิดไม่ถึงคือ การนั่งให้ถูกต้อง แต่จะนั่งทำงานอย่างไรถึงจะถูกต้อง อ่านเพิ่มเติม : นั่งทำงานอย่างไร ให้สุขภาพดี
เพราะการนั่งส่งผลต่ออาการ กระเบนเหน็บ
หากคุณมีปัญหาการนั่งไม่สบาย ปวดหลัง นั่งหลังงอ การมีเบาะรองนั่งที่ดีนั้นจะสามารถช่วยคุณได้อย่างยิ่ง เพราะเบาะรองนั่งจะช่วยปรับและกระตุ้นให้การนั่งของเราให้ถูกต้อง กระจายน้ำหนักได้ดีขึ้น ไม่ให้เกิดแรงกดทับต่อกระดูกบริเวณก้น ทั้งกระดูกก้นกบ กระดูกกระเบนเหน็บ และใต้ข้อพับเข่า ทำให้สามารถนั่งได้นานยิ่งขึ้น ซึ่งเหมาะสำหรับนั่งทำงาน นั่งขับรถ หรือแม้กระทั่งนั่งอยู่ที่บ้าน คอนโด เพราะการเสริมเบาะรองนั่ง จะเป็นตัวบรรเทาอาการปวดกระเบนเหน็บได้อีกด้วย
เบาะรองนั่งวางที่เบาะนั่งขัยรถได้ไหมคับ
สามารถใช้ได้ค่ะ