เมื่ออาการปวดหลัง ‘ปวดเอว ร้าวลงขา’ ไม่ได้มีแค่โรคหมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้นอย่างเดียว ส่วนใหญ่แล้วใครมีที่อาการปวดหลังร้าวลงขาก็มักจะต้องคิดว่าตัวเองอาจจะเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทอย่างแน่นอน เพราะเป็นโรคที่ทุกคนเคยเห็นกัน แต่ใครจะรู้ว่าปวดหลังร้าวลงขาก็เสี่ยงต่อกระดูกเชิงกรานเสื่อมหรือเกิดการอักเสบได้เช่นกัน อาการที่คล้ายกันจนแทบแยกไม่ออก แต่จะมีอาการและสาเหตุอะไรที่แตกต่างกันบ้าง แล้วจะมีวิธีการดูแลตัวเองอย่างไร ตามไปล้วงลับข้อมูลกันเลยดีกว่า
ข้อต่อเชิงกราน หน้าตาเป็นแบบไหน ทำไมถึงมีอาการปวด
อาการ ‘ปวดเอว ร้าวลงขา’ หรือปวดหลังร้าวลงขา เป็นอีกหนึ่งในอาการของโรค SI joint pain หรือ Sacroiliac joint Dysfunction ซึ่งอยู่ในกลุ่มอาการของข้อต่อเชิงกรานมีปัญหา ซึ่งอาการหลัก ๆ ของโรคนี้ก็คือ อาการปวดหลังส่วนล่างแบบเรื้อรัง ซึ่งถูกพบถึง 15-30 % ของคนที่มีอาการปวดของข้อต่อเชิงกราน ซึ่งโครสร้างของข้อต่อเชิงกราน(SI Joint) ประกอบด้วยปีกกระดูกเชิงกราน (ilium) และเชื่อมกระดูกกระเบนเหน็บ (Sacrum) ที่อยู่ระหว่างกระดูกสันหลังส่วนล่างกับกระดูกก้นกบ (Coccyx) ซึ่งจะทำหน้าที่ในการรองรับแรงกระแทกของร่างกายส่วนบนกับสะโพกและขา ในการเดิน ก้ม แอ่นหลัง ทำให้การเคลื่อนไหวของร่างกายดูนุ่มนวลมากขึ้น ไม่เกิดการกระชากของข้อต่อเชิงกราน และข้อต่ออื่น ๆ ได้
สาเหตุของอาการข้อต่อเชิงกรานเสื่อม
- ความยาวของขาสั้นยาวไม่เท่ากัน หรือกระดูกสันหลังคด ก็เสี่ยงต่อการแรงกดของสะโพกขาข้างใดข้างหนึ่งมากจนเดินไป ทำให้เกิดการบาดเจ็บแล้วเกิดอาการปวดข้อต่อเชิงกรานตามมาได้
- มีครรภ์หรือคนที่เคยคลอดลูกมาก่อน เกิดจากกล้ามเนื้อบริเวณข้อต่อเชิงกราน สะโพกและหลัง เกิดการขยายตัว ทำให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นโดยรอบมีความแข็งแรงลดลง หรือเชิงกรานหลวมนั่นเอง
- เคยผ่าตัดหลังมาก่อน แล้วกลับมามีอาการปวดหลัง หรืออาการชาร้าวลงขา
- เคยประสบอุบัติเหตุล้มก้นกระแทกมาก่อน
- มีพฤติกรรมการเคลื่อนไหวที่ทำให้เกิดแรงกระทำต่อข้อต่อซ้ำ ๆ เช่น การยกของหนัก เล่นกีฬาที่ใช้ช่วงขาเยอะ หรือเกิดจากกล้ามเนื้อที่คงค้างในท่าเดิมนาน ๆ จนเกิดความเครียดต่อข้อต่อ เช่น การนั่งนาน หรือยืนนาน ก็อาจจะทำให้เกิดอาการปวดที่ข้อต่อเชิงกรานได้
อาการแบบนี้เป็นข้อต่อเชิงกรานเสื่อมในอนาคตแน่นอน
- อาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง และโดยปกติมักจะปวดหลังข้างเดียวเป็นหลัก
- อาการปวดร้าวลงก้น หรือร้าวลงขา
- อาจมีอาการปวดคล้ายกับอาการ Sciatica คือมีอาการชาคล้ายเข็มทิ่ม มีอาการร้อน เสียวซ่าในขา
- จำกัดการเคลื่อนไหวของหลัง สะโพก ขา ได้ ยิ่งเมื่อต้องเดินระยะทางไกล หรือเดินขึ้นบันไดจะยิ่งทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยสะโพก ขาได้
- มีอาการปวดเพิ่มมากขึ้น ขณะเปลี่ยนท่าทาง เช่น จากท่านั่งไปยืน หรือจากท่านอนหงายไปตะแคงตัว
อาการปวดที่บรรเทาได้
หากมีอาการปวดสะโพก หรือปวดหลังที่สามารถทนได้แต่ไม่ถึงขั้นส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตระจำวัน ก็สามารถดูแลตัวเองได้เบื้องต้น ดังนี้
- การพักหรือลดกิจกรรมที่ทำให้เกิดการกดทับของข้อต่อเชิงกราน เช่น การเคลื่อนไหวของขาที่มากเกินไป เช่น เดิน วิ่ง หรือ การนั่งทำงานในท่าเดิม ๆ เป็นระยะเวลานานก็ทำให้เกิดอาการปวดได้ โดยพักทุก 1-2 ชั่วโมงต่อการทำกิจกรรมนั้น ๆ
- การประคบร้อน ประคบเย็น ก็สามารถช่วยลดและคลายกล้ามเนื้อที่เกิดความตึงตัวรอบสะโพก และกล้ามเนื้อหลัง โดยประคบประมาณ 15-20 นาที
- การยืดและการออกกำลังกาย การยืดกล้ามเนื้อจะช่วยคลายความตึงตัว และเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อได้ และเมื่อยืดแล้วต้องออกกำลังกายเพิ่มทำให้กล้ามเนื้อเกิดความกระชับ และเพิ่มความมั่นคงให้กับข้อต่อเชิงกราน ทำให้การเคลื่อนไหวหลัง สะโพก ขา ในท่าทางต่าง ๆ ได้ดีมากยิ่งขึ้น
- หากอาการรุนแรงมากขึ้น อาการปวดเริ่มส่งผลต่อการใช้ชีวิต หรือปวดจนเดินไม่ได้ ก็ควรรีบไปพบแพทย์หรือปรึกษานักกายภาพบำบัดเพื่อตรวจประเมินร่างกายและรับการรักษา
เมื่อเบาะรองนั่ง มาบรรเทาอาการปวดข้อต่อเชิงกราน
พฤติกรรมท่านั่งทำงานในท่าเดิมซ้ำ ๆ เป็นสาเหตุหนึ่งของอาการปวดข้อต่อเชิงกราน ซึ่งโครงสร้างของข้อต่อเชิงกรานเป็นบริเวณปุ่มกระดูกซึ่งเมื่อนั่งนาน ๆ ก็สามารถทำให้เกิดการกดทับของปุ่มกระดูกได้ และอาจจะทำให้กล้ามเนื้อรอบสะโพกถูกกดทับไปด้วย ทำให้เกิดความตึงตัวตามมาได้ การมีเบาะรองนั่งจะช่วยกระจายแรงกดทับบริเวณก้น และยังช่วยกระตุ้นให้ร่างกายนั่งในท่าที่ถูกต้องมากขึ้น ด้วยวัสดุทำมาจากเมมโมรี่โฟม ให้สัมผัสที่นุ่มแต่ไม่ยวบจนเกินไป ตัวเบาะมีความกว้างรองรับก้นและต้นขาได้เป็นอย่างดี หากใครที่ต้องนั่งทำงานที่พื้นหรือเก้าอี้ที่แข็งเกินไป ก็แนะนำให้มีเบาะรองนั่ง เพื่อความสบายในการนั่งทำงานได้ยาวนานมากยิ่งขึ้นนะคะ