ลักษณะอาการ”ปวดข้อมือ” เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เช่น การได้รับบาดเจ็บที่ข้อมือ จากอุบัติเหตุ หกล้มแล้วใช้มือยัน อาจจะเกิดจากโรคข้อมืออักเสบ โรคปลายประสาทเสื่อม หรือโรคผังพืดกดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ ก็สามารถทำให้เกิดอาการปวดข้อมือ หรืออาการมือชาได้ และสาเหตุที่เกิดจากพฤติกรรมของเราที่สังเกตได้อย่างง่ายๆ เลยก็คือ การใช้งานข้อมือหนักมากจนเกินไป เช่น ในกลุ่มอาชีพตัดผม เย็บปักถักรอย หรือคนที่ต้องใช้แป้นพิมพ์หรือเมาส์เป็นประจำทุกวัน และไม่ได้พักการใช้งานข้อมือ ร่วมกับอุปกรณ์ในการทำงานไม่เหมาะสมกับการทำงานด้วย ก็จะยิ่งส่งเสริมทำให้เกิดอาการปวดข้อมือ หรืออาการมือชาได้
ในกลุ่มที่เพิ่งเริ่มมีอาการปวดข้อมือ หรืออยากจะป้องกันอาการที่อาจจะเกิดขึ้นได้ Bewell เลยอยากแนะนำ 3 วิธีง่ายๆ ที่สามารถปรับและนำไปใช้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดข้อมือ
3 วิธีลดอาการปวดข้อมือ
- ปรับอุปกรณ์การใช้งาน
โดยส่วนใหญ่อาการปวดข้อมือ หากไม่ได้ประสบอุปบัติเหตุ หรือเป็นโรคข้อเสื่อม เบาหวาน หรือโรคประจำตัวอย่างอื่น ก็มักเกิดจากพฤติกรรมการใช้งานข้อมืออย่างหนักเป็นประจำ เช่น การใช้เมาส์ที่ไม่ถูกหลักสรีระร่างกาย ปกติเราจะใช้เมาส์ที่ทำให้ข้อมือเราบิด ซึ่งก็จะทำให้กล้ามเนื้อถูกทำงานตลอดเวลา อาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการปวดข้อมือได้ ซึ่งการปรับเปลี่ยนเมาส์หรือแป้นพิมพ์ให้ถูกสรีระของข้อมือก็เป็นสิ่งที่ควรลองปรับเปลี่ยน ซึ่งในตอนแรกๆ เราอาจจะไม่เคยชิน เพราะกล้ามเนื้อเราถูกใช้งานแบบผิดๆ มาตลอด เมื่อปรับมาทำให้ถูกก็อาจจะรู้สึกขัดๆ และตึงกล้ามเนื้อได้ แต่ถ้าใช้ไปเรื่อยๆ ก็จะสามารถปรับให้การทำงานของข้อมือเราอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องได้ และเมาส์ที่ควรใช้ก็ควรเป็นเมาส์ที่ทำให้ข้อมืออยู่ในแนวตั้ง เพื่อลดการบิดของข้อมือและลดการกดทับบริเวณข้อมือได้ด้วย และที่สำคัญเมาส์ควรจับได้ มีขนาดพอเหมาะ ไม่ใหญ่หรือเล็กจนเกินไป หากใช้เมาส์ไม่พอดีก็อาจจะส่งเสริมให้เกิดอาการปวดข้อมือตามมาได้
ทำความเข้าใจเพิ่มเติม เกี่ยวกับการใช้เมาส์ : ไขข้อข้องใจ ใช้เมาส์แนวตั้งต่างจากเมาส์ทั่วไปอย่างไร
2. เสริมอุปกรณ์ซัพพอร์ข้อมือ
นอกจากการปรับอุกรณ์การใช้งานแล้ว ควรจะหาอะไรมาซัพพอร์ตข้อมือเพื่อทำให้ลดการบาดเจ็บที่อาจจะเกิดขึ้นกับข้อมือได้ เช่น หาแผ่นรองข้อมือเพื่อมารองรับข้อมือ ไม่ให้เกิดการเสียดสีของข้อมือกับโต๊ะทำงาน และการมีแผ่นรองข้อมือจะช่วยทำให้ข้อมือเราไม่หักจนเกินไปขณะใช้เมาส์และแป้นพิมพ์ เพราะจะช่วยรองรับข้อมือและทำให้ระดับข้อมืออยู่ในระดับพอดี และกล้ามเนื้อมือก็จะไม่เกร็งมากเกินไปขณะทำงาน หรือถ้าหากใครที่มีอาการปวดข้อมือที่รุนแรงขึ้นอีกระดับควรใส่ที่พยุงข้อมือ เพื่อปรับให้ข้อมือเราอยู่ในแนวปกติมากที่สุด ก็จะช่วยลดการเกร็งของกล้ามเเนื้อ และช่วยพยุงกล้ามเนื้อข้อมือเอาไว้ด้วย
3. บริหารกล้ามเนื้อและพักการใช้งาน
การใช้งานข้อหนักจนเกินไป นอกจากจะทำให้เสียสุขภาพร่างกายแล้วก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายไปรักษาอาการที่เกิดขึ้นอีก ก็จะเป็นการเสียทั้งเวลาและเสียทั้งเงิน ดังนั้นเราควรปรับพฤติกรรมตัวเองในการทำงาน ต้องรู้จักพักการใช้งานกล้ามเนื้อ ไม่ใช้ข้อมือทำงานหนักติดต่อกันมากกว่า 2 ชั่วโมง ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้เจ็บข้อมือซ้ำ เช่น การหิ้วของโดยใช้ข้อมือ การเล่นมือถือนานๆ หรือพิมพ์งานติดต่อกันเป็นเวลานานๆ เป็นต้น และสิ่งสำคัญที่จะช่วยบรรเทาอาการ ลดและป้องกันอาการปวดข้อมือที่อาจจะเกิดขึ้นได้เลยก็คือ การยืดกล้ามเนื้อมือบ่อยๆ และการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อมือ ก็จะสามารถป้องกันอาการ”ปวดข้อมือ”ที่อาจจะเกิดขึ้นได้
ท่าบริหารมือ อ่านเพิ่มเติม : มือชาไม่หาย ลดอาการชาด้วย 7 ท่าบริหารกล้ามเนื้อมือ
นอกเหนือจาก 3 วิธีดังกล่าวก็มีการประคบร้อนหรือแช่น้ำอุ่น ก็สามารถช่วยทำให้กล้ามเนื้อในมือผ่อนคลายได้ด้วย หากลองปรับพฤติกรรมดูแล้ว แต่ยังไม่สามารถลดอาการปวดข้อมือได้ อาการมีแต่จะแย่ลง ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต อย่าปล่อยให้อาการต้องรบกวนการใช้ชีวิตของคุณ แนะนำว่าควรไปพบแพทย์หรือปรึกษานักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการตรวจประเมินร่างกายและรับการรักษาอย่างถูกวิธี
อุปกรณ์เสริม ลดอาการปวดข้อมือจาก Bewell
เมาส์ แผ่นรองเมาส์ และแผ่นรองข้อมือและคีย์บอร์ด ตัวช่วยที่จะปรับเปลี่ยนสรีระข้อมือของคุณให้ทำงานได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น ลดการทำงานของกล้ามเนื้อมือ และเพิ่มความสุขให้กับการทำงาน หากไม่อยากเสียสุขภาพและต้องเสียเงินในราคาที่แพงกว่านี้ไปกับค่ารักษาพยาบาลร่างกาย ให้ตัวช่วยของBewell เป็นตัวเลือกที่ถูกลงของเงินในกระเป๋าคุณดีกว่า เพื่อสุขภาพที่ดีและห่างไกลจากออฟฟิศซินโดรมนะคะ