บทความสุขภาพ

คอเคล็ด ไม่หายซักที สาเหตุเกิดจากอะไร? มีวิธีแก้ยังไงได้บ้าง?

คอเคล็ดกะทันหัน Bewell

คอเคล็ด กะทันหัน (Neck Strain) เป็นหนึ่งในอาการปวดคอ ที่ใครก็สามารถเป็นได้ ถ้าพูดถึงสาเหตุของอาการ ‘คอเคล็ด’ ที่คนชอบนึกถึงกันเลยก็คือ การนอนตกหมอน แต่จริงๆแล้วการนอนตกหมอนอาจจะไม่ใช่สาเหตุที่แท้จริงก็เป็นไปได้

อาการคอเคล็ดกะทันหันที่เกิดขึ้นนั้นสามารถเกิดได้หลากหลายสาเหตุ เช่น เกิดจากการนอนในท่าทางที่ไม่เหมาะสม หรือการนอนผิดท่านั้นเอง ซึ่งจะเกิดจากการนอนหมอนที่ไม่ถูกต้อง การนอนหมอนสูงเกินไป ทำให้เกิดการก้มคอขณะนอนไม่รู้ตัวและทำให้กล้ามเนื้อคอด้านหน้ามีการทำงานแบบหดสั้นและกล้ามเนื้อคอด้านหลังทำงานแบบยืดยาวออก หรือการนอนตะแคงที่ผิดท่าก็ทำให้กล้ามเนื้อคอด้านข้างหนึ่งทำงานแบบหดสั้นและอีกข้างทำงานแบบยืดยาวออก ซึ่งการทำงานของกล้ามเนื้อที่ไม่สมดุลกันนี้ทำให้กระดูกสันหลังถูกจำกัดการเคลื่อนไหวได้ เมื่อเราตื่นขึ้นมาในตอนเช้าแล้วมีการลุกขึ้นอย่างรวดเร็ว ก็ทำให้กล้ามเนื้อหรือเยื่อหุ้มกระดูกสันหลังที่มีความตึงตัวอยู่ถูกกระชากออกทำให้เกิดเป็น คอเคล็ดกะทันหัน หรือเป็นอาการที่เรียกว่า กระดูกต้นคอ หรือกล้ามเนื้อคออักเสบเฉียบพลันได้

ซึ่งอาการคอเคล็ดที่เกิดขึ้นนั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุไม่เพียงแต่การนอนตกหมอนเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการนั่งทำงานหน้าคอมเป็นเวลานานๆ แล้วต้องยื่นหน้าเข้าไปใกล้จอคอมก็ทำให้กล้ามเนื้อทำงานในลักษณะท่าทางที่ไม่เหมาะสม เช่นเดียวกับการก้มหน้าเล่นมือถือซึ่งพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเหล่านี้เมื่อเราทำเป็นประจำซ้ำๆ ก็สามารถทำให้กล้ามเนื้อเกิดการบาดเจ็บซ้ำๆ จนทำให้เกิดเป็นอาการปวดคอเรื้อรังตามมาได้  

สาเหตุของคอเคล็ดกะทันหัน

คอเคล็ด Bewell

1. การนอนผิดท่า เช่น การนอนหมอนสูงเกินไป หรือหมอนต่ำเกินไป ทำให้ระดับของกระดูกสันหลังคอไม่ตรงกับแนวกระดูกสันหลังส่วนอื่น อาจะทำให้เกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อหรือข้อต่อได้

2. การนั่งทำงานในท่าเดิมนานเกินไป เช่น การนั่งทำงานหน้าคอมที่มีลักษณะคอยื่น ไหล่ห่อ หลังค่อม หรือการก้มหน้าเกินไป ก็สามารถทำงานกล้ามเนื้อคอ บ่า ทำงานหนักและเสี่ยงต่อการได้รับบาดเจ็บของกกล้ามเนื้อได้มากกว่าการนั่งในท่าที่ถูกต้อง

3. การก้มหน้าเล่นมือมากเกินไป เพราะการก้มหน้าเกินไปทำให้น้ำหนักของศีรษะตกลงบนแนวกระดูกสันหลังคอทำให้แรงที่กระทำต่อข้อมีมากขึ้นส่งผลให้กระดูกข้อต่อเกิดการยึดติดและทำให้กล้ามเนื้อรอบคอเกิดความตึงตัวทำให้เกิดอาการปวดคอตามมาได้ หากไม่ปรับพฤติกรรมเหล่านี้นานเข้าสามารถทำให้เกิดการกดทับของเส้นประสาทส่วนคอ ทำให้เกิดอาการชาร้าวลงไปที่แขนได้

4. การเคลื่อนไหวของคอที่รวดเร็วเกินไป เช่น การหันคอผิดองศา

5. ได้รับการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา

6. ได้รับการบาดเจ็บที่รุนแรงจากอุบัติเหตุ

อาการของคอเคล็ดกะทันหัน

คอเคล็ด Bewell

1. มีอาการปวดกล้ามเนื้อบริเวณคอ และอาจมีอาการปวดขอวกล้ามเนื้อโดยรอบได้ (Pain Localized to The Neck Region) เช่น กล้ามเนื้อบ่า ไหล่ หรือสะบัก

2. มีอาการปวดแบบรำคาญ ๆ (Achy or Throbbing Pain) จะเป็นแบบชั่วคราวหรือบางครั้งก็รบกวนการนอนหรือขณะวัน โดยอาการปวดจะปวดที่กล้ามเนื้อลึกๆ

3. มีอาการปวดเหมือนมีดบาดที่กล้ามเนื้อ(Sharp pain) ขณะที่ขยับหรือหันซ้ายหันขวา 

4. อาการแย่ลงเมื่อมีการเคลื่อนไหว(Pain That Worsens with Movement) เช่น การเคลื่อนไหวคอแล้วทำให้อาการปวดเพิ่มมากขึ้น

5. กล้ามเนื้อมีความเกร็งตัว(Muscle Spasm)ตลอดเวลา ทำให้เกิดจุดกดเจ็บบนกล้ามเนื้อได้ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อสามารถเกิดอาการปวดร้าวไปที่อื่นได้หรือเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการปวดได้

6. คอเคล็ด (Stiff Neck) หรือเคลื่อนไหวคอได้ยากลำบาก ในบางครั้งเมื่อเรามีอาการคอเคล็ดมาเราจะไม่สามารถหันคอไปทางที่ตรงข้ามกับบริเวณที่มีอาการได้ เนื่องจากกล้ามเนื้อหรือกระดูกคอบริเวณนั้นจะมีอาการปวด บวม และอักเสบนั้นเอง

คอเคล็ดรักษาได้

คอเคล็ด Bewell

อาการ”คอเคล็ดกะทันหัน” เป็นอาการกล้ามเนื้อคออักเสบเฉียบพลันโดยอาการอักเสบในระยะนี้มักจะใช้เวลา 3- 7 วัน ในการซ่อมแซมกล้ามเนื้อทำให้อาการปวดหายไป โดยในระยะเฉียบพลันนี้จะมีวิธีการดูแลตัวเองดังนี้

1. การประคบเย็น

ในระยะอาการเฉีบยพลันเป็นระยะที่มีอาการปวด บวม อักเสบ จึงควรประคบเย็นเพื่อลดอาการอักเสบที่เกิดขึ้น โดยใช้เวลาประมาณ 10- 15 นาที

2. การเคลื่อนไหวข้อต่อ หรือการขยับข้อต่อคอด้วยตัวเอง

การขยับข้อต่อด้วยตัวเองเริ่มทำโดยการนั่งหลังตรง เก็บคาง คอตรง ไม่คอยื่นมาด้านหน้า ให้เริ่มจากการพยักหน้าลงเล็กน้อยให้ทำช้า ๆ และหลังจากนั้นให้หันไปด้านตรงข้ามกับที่มีอาการจนรู้สึกตึงให้เคลื่อนไหวช้า ๆ และสลับทำอีกฝั่ง เวลาขยับให้เคลื่อนไหวช้า ๆ เนื่องจากทำให้กล้ามเนื้อคอมัดลึกได้เรียนรู้การเคลื่อนไหวที่ถูกต้องและทำให้ข้อต่อที่ติดสามารถขยับได้ดีขึ้นด้วย

ถ้าหากต้องการบริหารคอเคล็ดด้วยตัวเอง อ่านเพิ่ม : แก้คอเคล็ด ด้วยท่าบริหารคออย่างง่าย 

3. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 

การปรับเปลี่ยนพฤิตกรรมจะช่วยทำให้ป้องกันและลดอาการบาดเจ็บที่สามารถเกิดขึ้นได้ เช่น การปรับท่านอน โดยต้องเริ่มจากการดูหมอนที่เรานอน ลักษณะของหมอนควรจะเฟิร์มไม่นุ่มหรือแข็งเกิน โดยองศามุมของคอควรจะอยู่ที่ประมาณ 30 องศา ไม่ควรก้มเกินไปเพราะจะทำให้กล้ามเนื้อเกิดความตึงตัวและเป็นเหตุที่ทำให้คอเคล็ดกะทันหันได้ และในท่านอนตะแคงก็ควรปรับให้แนวกระดูกสันหลังตรงเช่นกัน โดยปรับตั้งแต่หมอน เพราะถ้านอนหมอนสูงไปจะทำให้คอเอียงขึ้น หรือหมอนต่ำไปก็ทำให้คอตกลง ควรจะนอนหมอนที่ทำให้คออยู่ในระดับเดียวกันกับกระดูกสันหลัง และควรเอาหมอนมาชิดกับศีรษะให้มากขึ้นเพื่อรองไม่ให้ศีรษะทับไหล่ ใช้หมอนข้างมาซัพพอร์ตตัวไม่ให้ตัวเอนมาด้านหน้าจนเกินไป งอขาทั้งสองข้างเข้าหาลำตัวเพื่อปรับให้สะโพกไม่แอ่นไปด้านหลังเพื่อป้องกันไม่ให้แนวกระดูกสันหลังบิดจนเกินไป  นอกจากการปรับท่าทางในการนอนแล้วการปรับท่าทางในการทำงานก็เป็นสิ่งที่ควรทำเพราะถ้าเรานั่งทำงานในท่าเดิมเป็นเวลานานๆ จะทำให้กล้ามเนื้อคอเกิดความเมื่อยล้าได้จนทำให้กระดูกข้อต่อคอเกิดการล็อคและขยับได้ลำบาก ส่งผลทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อคอเพิ่มมากขึ้นได้

การดูแลตัวเองจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเป็นสิ่งที่ควรดูแลให้ถูกต้องตั้งแต่แรกเพราะการปรับปลี่ยนท่านั่งให้ถูกต้อง การปรับท่านอน หรือหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจจะทำให้เกิดอาการบาดเจ็บได้นั้น ไม่เพียงแต่ป้องกันอาการคอเคล็ดเฉียบพลันเท่านั้นยังเป็นการป้องกันอาการอื่นๆได้ด้วย เช่น อาการปวดคอ บ่า และหลัง หรืออาการชาร้าวลงแขน ขา รวมไปถึงอาการอาจร้ายแรงถึงกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้อีกด้วย 

นั่งให้ดี นั่งให้ถูก ห่างไกลคอเคล็ดแน่นอน

การนั่งทำงานให้ถูกต้องก็เป็นวิธีป้องกันอาการคอเคล็ดกะทันหันได้ทางหนึ่ง แต่แค่นั่งทำงานปกติอาจจะทำให้เกิดท่านั่งที่ถูกต้องได้ยาก Bewell ขอเสนอตัวช่วยอย่างเบาะรองนั่ง และเบาะรองหลัง ตัวช่วยที่ถูกออกแบบโดยนักกายบำบัดผู้เชี่ยวชาญด้านการยศาสตร์ การเคลื่อนไหวร่างกาย ในการออกแบบให้เข้ากับร่างกายและสรีระทั้งหญิงและชายให้มากที่สุด ด้วยฟังก์ชันการทำงานที่จะช่วยกระตุ้นและส่งเสริมให้เกิดท่านั่งที่ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์แล้วนั้น ตัวเบาะยังทำจากวัสดุชั้นดีอย่างเมมโมรี่โฟมแท้ 100 % นั่งแล้วไม่นุ่มหรือแข็งจนเกินไป นั่งแล้วให้ความรู้สึกที่เฟิร์มกระชับเข้ากับแผ่นหลังและรองรับบริเวณก้นได้ดี พร้อมทั้งผสมผงถ่านไม้ไผ่เพื่อลดกลิ่นอับและความชื้น และตัวเบาะรองหลังยังมีการเพิ่มสายรัด 2 ชั้น เพื่อทำให้การปรับระดับของเบาะเข้าได้กับคนทุกประเภท และยังสามารถช่วยลดและป้องกันอาการบาดเจ็บที่อาจจะเกิดการนั่งทำงานได้อีกด้วย 

Slide
ฟรี! ปรึกษาปัญหาด้านสุขภาพ
ปรับท่านั่งทำงานที่ถูกต้อง
ตามหลัก Ergonomics

One thought on “คอเคล็ด ไม่หายซักที สาเหตุเกิดจากอะไร? มีวิธีแก้ยังไงได้บ้าง?

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *