เคยหรือไม่ นั่งทำงานหน้าคอมอยู่ดีๆ ก็มีอาการปวดคอ ปวดบ่า บางครั้งก็ปวดหลังจนทนไม่ไหว ต้องขยับตัว ลุกขึ้นจากที่นั่ง หรือหันบิดตัวบนเก้าอี้แต่อาการก็ไม่ดีขึ้นเลย อาการปวดเหล่านี้คอยรบกวนใจคุณอยู่ตลอด และบางครั้งอาการปวดก็ร้าวไปตรงบริเวณแขนและมือ ร่วมกับมีอาการชาบ้าง ก็ยิ่งทำให้คุณเกิดความวิตกกังวลใจเพิ่มขึ้นไปอีกถึงความอันตรายที่เกิดขึ้นกับร่างกายคุณ จนทำให้ประสิทธิภาพของการทำงานลดลง สุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตก็เสื่อมโทรมไปด้วย
โดยอาการปวดที่เกิดขึ้นกับพนักงานออฟฟิศส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นมาหลายปี แต่คนเรามักจะปล่อยทิ้งไว้เพราะอาการที่เป็นจะเป็นๆหายๆ หากมีอาการปวดมากขึ้นก็ไปนวด ไม่ก็ซื้อยาคลายกล้ามเนื้อกิน พอให้อาการทุเลาซึ่งอาการเหล่านี้เกิดการสะสมทำให้เกิดเป็น”กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง” หรือที่เรียกว่า Myofascial pain syndrome (MPS) ซึ่งเป็นกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืด ซึ่งสามารถพบได้ที่กล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ซึ่งจะมีจุดกดเจ็บ อาการปวด รวมถึงอาการปวดร้าวไปกล้ามเนื้อบริเวณอื่นๆได้ โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรังก็มีด้วยหลายเหตุผล เช่น ความเครียดจากการทำงาน ทำให้กล้ามเนื้อได้รับความเครียดไปด้วยจนเกิดอาการเกร็งตัวซ้ำๆของกล้ามเนื้อ หรือเกิดจากการที่กล้ามเนื้อทำงานมากเกินไป เช่น นั่งอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานานๆ ยืนนาน หรือกล้ามเนื้อได้รับการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ก็ทำให้กล้ามเนื้อเกิดกลไกการป้องกันตัวเองทำให้กล้ามเนื้อต้องหดตัวซ้ำๆ จนเกิดเป็นจุดกดเจ็บหรือกลุ่มก้อนกล้ามเนื้อที่เกิดอาการปวดขึ้นมาได้ โดยกลุ่มอาการกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรังก็จะมีอาการเฉพาะที่ให้คุณสังเกตได้ ดังนี้
อาการที่บ่งบอกว่าคุณอาจมีภาวะกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง
1. ปวดกล้ามเนื้อ
อาการปวดกล้ามเนื้อจะปวดบริเวณส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เช่น มีอาการปวดบริเวณคอและบ่า โดยอาการปวดจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อเรามีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม หรือมีการคงค้างของกล้ามเนื้อนั้นๆเป็นเวลานาน เช่น นั่งทำงานหน้าคอมนานกว่า 1 ชั่วโมงก็จะเริ่มมีอาการปวดหลัง ก้มหน้าเล่นมือถือก็จะกระตุ้นอาการปวดคอ หรือยืนทำงานนานๆ ก็จะปวดกล้ามเนื้อขาและหลังส่วนล่าง เป็นต้น โดยอาการปวดกล้ามเนื้อจะสามารถพบได้ทั้งตอนที่ ‘กล้ามเนื้ออักเสบ’ แบบเฉียบพลัน และกล้ามเนื้ออักเสบแบบเรื้อรัง แต่ตอนกล้ามเนื้ออักเสบแบบเฉียบพลันอาจจะมีจุดสังเกตึเพิ่มเติม คือ อาจจะมีบวม แดง ร้อนเพิ่มเข้ามานั่นเอง
2. มีจุดกดเจ็บ (Trigger point)
เป็นจุดบนกล้ามเนื้อที่เรามีอาการปวด โดยจะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ Latent trigger point หรือว่าจุดกดเจ็บที่ซ๋อนตัวไม่แสดงอาการ จะมีอาการก็ต่อเมื่อเรากดลงไปบนกล้ามเนื้อหรือมีตัวกระตุ้น ทำให้เกิดอาการปวดแบบที่เราเป็นได้ซึ่งจุดที่มีอาการปวดเรียกว่า Tenderness และแบบที่ 2 คือ Active trigger point จะมีอาการโดยไม่ต้องกดลงบนกล้ามเนื้อ หรือไม่ต้องมีตัวกระตุ้นก็เกิดอาการปวดได้เอง
3. ปวดร้าวไปบริเวณอื่น (referred pain zone)
อาการปวดร้าวไปบริเวณอื่นก็จะขึ้นอยู่กับกล้ามเนื้อที่เรามีอาการปวด และจะมีอาการปวดร้าวเพิ่มมากขึ้นเมื่อเรากดลงไปที่จุดกดเจ็บ (Trigger point) ของกล้ามเนื้อบริเวณนั้นๆ ซึ่งกล้ามเนื้อแต่ละมัดก็จะมีอาการปวดร้าวไปตำแหน่งอื่นๆไม่เหมือนกัน เช่น ปวดกล้ามคอแต่มีอาการร้าวขึ้นศีรษะ จนมีอาการปวดหัวคล้ายไมเกรน ปวดกล้ามเนื้อบ่าก็จะมีอาการปวดร้าวไปแขน
4. ก้อนกล้ามเนื้อที่มีอาการ (Taut band)
โดยกลุ่มอาการกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง เมื่อเราคลำไปที่กล้ามเนื้อก็จะพบกับก้อนกล้ามเนื้อที่แข็งและมีความตึงตัวขึ้นมาเป็นลำกล้ามเนื้อ หรือเหมือนกล้ามเนื้อปูดขึ้นมา โดยก้อนกล้ามเนื้อนี้จะพบจุดกดเจ็บ หรือ Trigger point ซึ่งเมื่อเรากดลงจึงทำให้มีอาการปวดขึ้นมาได้
5. องศาการเคลื่อนไหวของร่างกายลดลง
การเคลื่อนไหวของร่างกายในแต่ละข้อต่อของร่างกายจะมีองศาของการเคลื่อนไหวที่อยู่ในช่วงปกติ แต่เมื่อเกิด’กล้ามเนื้ออักเสบ’ เรื้อรังอาจจะทำให้องศาในการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อในข้อต่อนั้นๆ ลดลงได้ โดยองศาการเคลื่อนไหวที่ลดลงนั้นอาจมาจากอาการปวดทำให้เราไม่อยากขยับร่างกายบริเวณนั้น เกิดจากความตึงตัวของกล้ามเนื้อทำให้เคลื่อนไหวไปสุดองศาที่ปกติไม่ได้ หรือเกิดจากกล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยเฉพาะบริเวณที่มีจุดกดเจ็บหรือบริเวณที่ปวด กล้ามเนื้อบริเวณรอบข้างก็จะมีความอ่อนแรงหรือไม่แข็งแรงทำให้สามารถเกิดอาการบาดเจ็บซ้ำในบริเวณดังกลาวได้
อาการของ”กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง”ที่ได้กล่าวไปนั้น สามารถดูแลและรักษาตัวเองในเบื้องต้นด้วยการยืดกล้ามเนื้อ ออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ พักการใช้งานร่วมกับการปรับพฤติกรรมร่างกายเพื่อลดและป้องกันอัตราการเกิดการบาดเจ็บซ้ำของกล้ามเนื้อ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของชีวิตทั้งกายและใจให้พร้อมกับการทำงานในทุกๆวันได้อีกด้วย
เมื่อการนั่งนานๆ ทำให้กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง ให้เบาะรองนั่งและรองหลังจาก Bewell ช่วยคุณได้
เมื่อหลีกเลี่ยงการนั่งนานๆไม่ได้ ก็ต้องหาตัวช่วยมาซัพพอร์ตหลังและก้นแทน ด้วยเบาะรองนั่งและรองหลัง รุ่นเออร์โกคุชชั่น เบาะรุ่นใหม่ที่ร่วมออกแบบกับนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญด้านสรีระร่างกาย ที่ทำให้เบาะรองรับเข้ากับสรีระร่างกายคนไทยมากยิ่งขึ้น ด้วยตัวเบาะทำจากวัสดุเมมโมรี่โฟม นั่งแล้วยุบคืนตัว 100% มาพร้อมการผสมผงถ่านไม้ไผ่ ลดความอับชื้น และป้องกันกลิ่นอับ อีกทั้งตัวปลอกหุ้มเบาะรองหลังและรองนั่งเป็นผ้า Cooling cotton ที่จะให้ความเย็นสบาย พร้อมระบายอากาศได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย ตัวเบาะรองหลังและรองนั่งจะช่วยปรับท่านั่งให้หลังตรง และช่วยลดการกดทับใต้ข้อพับเข่า และมากกว่าไปนั้นเพื่อช่วยป้องกันและบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้ออักเสบจากการนั่งทำงานได้อีกด้วย
One thought on “เช็คเลย อาการแบบนี้เสี่ยงเป็น ‘กล้ามเนื้ออักเสบ’”