อาการมือชา ปวดข้อมือ เป็นอาการยอดฮิตของสายเกมเมอร์เลยก็ว่าได้ เพราะอาชีพนี้หรือคนที่ชอบเล่นเกม มักจะมีพฤติกรรมการเล่นเกมที่ใช้เวลาค่อนข้างนาน หรือเกมบางเกมต้องใช้เวลามากกว่า 1 ชั่วโมงขึ้นไป บางคนก็ติดลมเล่นเกมเพลิน โดยมือเป็นอวัยวะในร่างกายที่ต้องมีการขยับมากที่สุดเวลาเล่นเกม อาจมีการหักข้อมือมากเกินไป หรือการวางมือที่ผิดไปจากแนวปกติของข้อมือ เมื่อทำพฤติกรรมเหล่านี้ซ้ำๆ บ่อยๆ จึงเป็นล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดข้อมือ หรือมือชาได้
สาเหตุของอาการปวดข้อมือ มือชา
กลุ่มอาการมือชา ปวดข้อมือ ก็ล้วนมีอยู่ด้วยกันหลายสาเหตุ แต่ส่วนใหญ่มักจะมาจากพฤติกรรมของคนเราเป็นส่วนใหญ่ มีลักษณะการใช้งานข้อมือที่ไม่ถูกต้อง มีการหักข้อมือมากเกินไปตอนใช้เมาส์ หรือข้อมือมีการเสียดสีกับขอบโต๊ะทำงานตลอดเวลา ทำให้ต้องหักข้อมือขณะใช้เมาส์ แป้นพิมพ์ นอกจากการใช้เมาส์ แป้นพิมพ์ไม่ถูกวิธีแล้วนั้น การใช้งานเป็นระยะเวลานานๆ ร่วมกับการวางมือไม่ถูกต้องยิ่งเป็นการส่งเสริมทำให้เราเกิดอาการปวดข้อมือ มือชาได้ โดยกลุ่มอาการปวดข้อมือ มือชา จะมีด้วยกันหลายโรค ยกตัวอย่างเช่น
Carpal tunnel syndrome
เป็นโรคอาการมือชาอันดับต้นๆ ของคนที่ต้องใช้เมาส์หรือแป้นพิมพ์บ่อยๆ มักเกิดจากการวางมือไม่ถูกต้องขณะใช้งานเมาส์ หรือแป้นพิมพ์ ร่วมกับการใช้งานเป็นระยะเวลานานๆ หรืออาจจะเกิดจากคนที่มีภาวะอ้วน โรคเบาหวาน หรือโรคข้ออักเสบที่ข้อมือ เป็นต้น โดยเกิดจากการหนาตัวของพังผืดและเนื้อเยื่อบริเวณข้อมือ ทำให้เกิดการบีบและตีบแคบบริเวณข้อมือ จึงไปกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ ทำให้เกิดอาการปวดข้อมือ อาการมือชา และอาจจะทำให้กล้ามเนื้อเกิดการฝ่อลีบได้ โดยเฉพาะนิ้วโป้ง เพราะกล้ามเนื้อบรืเวณนิ้วโป้งที่ถูกเลี้ยงโดยเส้นประสาทที่ถูกกดทับนั้นเอง
อ่านเพิ่มเติม : มือชา นิ้วชา อันตรายจาก Carpal tunnel syndrome
Trigger finger
หรือที่เรียกว่านิ้วล็อค เป็นอาการผิดปกติของข้อนิ้วมือที่ไม่สามารถงอเหยียดได้อย่างปกติ เนื่องจากเวลาจะเหยียดนิ้วมือออกจะให้ความรู้สึกเหมือนเหนี่ยวไกปืน หรือจะรู้สึกเหยียดนิ้วออกยาก เพราะเกิดจากปลอกหุ้มเส้นเอ็นและเส้นเอ็นนิ้วมือเกิดอาการบวม และอักเสบ โดยจะเกิดจากการใช้งานข้อนิ้วมือซ้ำๆ เช่น เกมเมอร์ คนที่ใช้มือถือบ่อยๆ หรือหิ้วของเวลาไปจ่ายตลอด เป็นต้น โดยอาการของนิ้วล็อคก็จะมีอาการปวดตามข้อมือนิ้ว เหยียดนิ้วมือได้ยากขึ้น และการเคลื่อนไหวของข้อมือนิ้วลดลง
อ่านเพิ่มเติม : นิ้วล็อค เกิดจากการใช้มือถือมากเกินไปจริงหรือไม่ ?
De quervain’s disease
เป็นอาการเส้นเอ็นบริเวณข้อนิ้วโป้งอักเสบ จึงเกิดอาการปวดที่ข้อนิ้วมือ มักเกิดจากการใช้งานกล้ามเนื้อบริเวณข้อนิ้วโป้งซ้ำๆ เป็นประจำ เช่น เกมเมอร์ ไม่ว่าจะเป็นใช้คลิกเมาส์ หรือเล่นเกมในมือถือ บางครั้งก็เกิดกับอาชีพที่ต้องใช้นิ้วโป้งในการทำงานหนักๆ อย่างเช่น แม่ค้าขายอาหาร คนชอบทำงานสวน เป็นต้น โดยจะมีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วโป้ง เวลาเหยียดนิ้วมือ หรือทำให้การใช้งานมือยากขึ้น เช่น การเย็บผ้า การเขียนหนังสือ
นอกจากตัวอย่างโรคที่นำมาแล้ว อาการมือชา ปวดข้อมือ ก็อาจจะมาจาก กระดูกสันหลังคอเสื่อม โดยจะมีอาการปวดคอและมีอาการชาร้าวมาถึงที่แขนและมือได้ โรคกลุ่มทีโอเอส ซึ่งเกิดจากการกดทับของเส้นเลือดและเส้นประสาทระหว่างบริเวณต้นคอ ทำให้มีอาการมือชาได้ หรืออาจจะเกิดกับคนที่เป็นโรคเบาหวานที่จะมีอาการชาปลายมือปลายเท้า เป็นต้น
การป้องกันและการดูแลตัวเอง
อาการปวดข้อมือ มือชา หากอาการไม่ได้รุนแรงถึงขั้นใช้ชีวิตประจำวันไม่ได้ สามารถบรรเทาอาการได้ด้วยการแช่น้ำอุ่น การยืดและการออกกำลังกายมือ การใส่ซัพพอร์ตที่มือ และการปรับสภาพแวดล้อมของโต๊ะทำงานและอุปกรณ์ในการทำงาน เช่น การใช้แผ่นรองเมาส์ การใช้เมาส์มีขนาดเหมาะกับมือ จับให้ถูกต้อง เพื่อทำให้กล้ามเนื้อไม่เกิดอาการเกร็งขณะใช้งาน และสิ่งสำคัญของการช่วยลดอาการและป้องกันอาการที่อาจจะเกิดขึ้นได้ก็คือ การลดการใช้งานของข้อมือและมือที่หนักเกินไป ควรมีเวลาพักกล้ามเนื้อมือ หรือแบ่งงานเพื่อให้ในแต่ละวันใช้งานกล้ามเนื้อมือมากเกินไป และถ้าหากอาการที่เป็นมีความรุนแรงจนถึงขั้นรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันก็ควรจะไปพบแพทย์หรือปรึกษานักกายภาพบำบัดผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ เพื่อรับการตรวจประเมินร่างกายต่อไป
อาการมือชา ปวดข้อมือ บรรเทาอาการด้วยอุปกรณ์ซัพพอร์ตข้อมือจาก Bewell
เมื่ออาการปวดข้อมือ มือชา เป็นอาการที่มักเกิดจากพฤติกรรมของการใช้งานของข้อมือที่ผิดปกติ หรือใช้งานหนักเกินไป การมีตัวช่วยอย่างเมาส์ไร้สายเพื่อสุขภาพ แผ่นรองเมาส์ แผ่นรองคีย์บอร์ด และยางยืดบริหารกล้ามเนื้อมือ ด้วยอุปกรณ์เหล่านี้ จะมาช่วยปรับให้ข้อมือของเราอยู่ในสรีระที่ถูกต้อง ลดการทำงานของกล้ามเนื้อมือ ลดการเสียดสีข้อมือกับโต๊ะด้วยแผ่นรองเม้าส์และคีย์บอร์ด และจบด้วยการพักและบริหารมือด้วยยางยืด เพียงเท่านี้อาการมือชา ปวดข้อมือ ก็จะไม่มารบกวนใจคุณขณะทำงานอีกต่อไป อย่าลืมหันมาดูแลสุขภาพตัวเองกันด้วยนะคะ ด้วยความห่วงใยจาก Bewell