ไหล่ติด อาการที่บางครั้งเราก็สามารถตรวจเช็คได้เอง เพราะอาการที่เด่นชัดเลยก็คือ องศาเคลื่อนไหวของข้อไหล่จะถูกจำกัดการเคลื่อน เช่น หยิบของจากที่สูงได้ลำบาก ติดตะขอเสื้อในแบบเอามือไปติดด้านหลังไม่ได้ หวีผมไม่ได้ หรือแม้กระทั่งแปรงฟันได้ลำบากขึ้น ซึ่งการรักษาหรือการแก้ไขก็สามารถบริหารได้ด้วยตัวเอง เพื่อลดการติดขัดและการตึงรั้งของเนื้อเยื้อหุ้มข้อไหล่และกล้ามเนื้อบริเวณรอบข้อไหล่ได้ โดย Bewell ได้นำ 5 ท่า บริหารไหล่ติด ที่จะช่วยเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวของข้อไหล่และเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อมาฝากกัน
5 ท่าบริหารไหล่ติด
1. Shoulder internal rotation exercise with resistance band
ท่าเริ่มต้น : ยืนหรือนั่งหลังตรง
ลักษณะท่าทาง : เริ่มจากตั้งศอกให้ตั้งฉากขนาดกับลำตัว และหาพื้นที่ผูกยางยืดไว้กับเสาหรือโต๊ะให้ขนาดกับลำตัว แล้วเอามือจับยางยืดจากนั้นออกแรงดึงยางยืดเข้าหาลำตัว พยายามคุมไม่ให้ไหล่ยกและศอกไม่ให้กางออกเพื่อให้ได้กล้ามเนื้อมัดที่ถูกต้อง
จำนวน : 10-15 ครั้ง/เซต 3 เซต/วัน
2. Shoulder retraction exercise with resistance band
ท่าเริ่มต้น : ยืนหรือนั่งหลังตรง
ลักษณะท่าทาง : เริ่มจากจับยางยืดไว้ทั้งสองมือ ให้ศอกอยู่ข้างลำตัว หลังจากนั้นดึงยางยืดออกออกจากลำตัวพร้อมทั้งสองข้างเพื่อให้กล้ามเนื้อสะบักหุบเข้าหากัน
จำนวน : 10-15 ครั้ง/เซต 3 เซต/วัน
3. Hand behind back exercise with resistance band
ท่าเริ่มต้น : ยืนหรือนั่งหลังตรง
ลักษณะท่าทาง : เริ่มจากให้นำมือข้างที่มีอาการไหล่ติดไพร่แขนไปด้านหลัง ให้เอาเอื้อมไปแตะด้านหลังให้มากที่สุด หลังจากนั้นจับยางยืดด้วยสองมือตามรูป แล้วออกแรงดึงยางยืดขึ้นด้วยมือที่ไพร่หลังด้านบนเพื่อให้กล้ามเนื้อของไหล่ที่ติดได้ถูกการขยับและถูกการยืดไปด้วย
จำนวน : 10-15 ครั้ง/เซต 3 เซต/วัน
4. Shoulder abduction exercise with resistance band
ท่าเริ่มต้น : ยืนหรือนั่งหลังตรง
ลักษณะท่าทาง : เริ่มจากเหยียบยางยืดด้วยเท้าข้างที่ต้องการจะออกกำลังกาย นำมือจับยางยืดไว้แล้วพยายามออกแรงกางแขนออกจากลำตัวแล้วพยายามกางออกให้แขนขึ้นมาแนบหูหรือกางออกในตำแหน่งที่มีอาการตึงตัว
จำนวน : 10-15 ครั้ง/เซต 3 เซต/วัน
5. Shoulder external rotation exercise with resistance band
ท่าเริ่มต้น : ยืนหรือนั่งหลังตรง
ลักษณะท่าทาง : เริ่มจากตั้งศอกให้ตั้งฉากขนาดกับลำตัว เอามือทั้งสองข้างจับยางยืดไว้ โดยจับยางยืดในมือข้างหนึ่งไว้แล้วให้ศอกเป็นจุดหมุนแล้วออกแรงดึงยางยืดออกจากลำตัว พยายามคุมไม่ให้ไหล่ไม่ยกและศอกไม่ให้กางออกจากลำตัวเพื่อให้ได้กล้ามเนื้อมัดที่ถูกต้อง
จำนวน : 10-15 ครั้ง/เซต 3 เซต/วัน
ข้อควรระวัง
- การยืดทำแค่ตึง ไม่เจ็บ
- การยืดและการออกกำลังกายไม่ควรกั้นหายใจขณะทำ เพราะอาจะส่งผลให้เกิดอาการเวียนหัวหรือหน้ามืดได้
- หากยืดเนื้อแล้วอาการแย่ลง หรือไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์หรือปรึกษานักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญ
5 ท่า บริหารไหล่ติด นี้สามารถช่วยทำให้กล้ามเนื้อรอบข้อไหล่แข็งแรงขึ้นและช่วยเพิ่มความมั่นคงให้กับข้อไหล่และยังช่วยเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวของข้อไหล่อีกด้วย หากใครที่กำลังมีปัญหาไหล่ติด ยกแขนขึ้นไม่ได้ มีปัญหาไหล่ติดขัด ก็ลองสามารถออกกำลังกายตาม 5 ท่านี้ได้เลย
ไหล่หายติด ด้วยยางยืดจาก Bewell
การบริหารไหล่ติด ด้วยยางยืดจะสามารถช่วยเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อและเพิ่มความมั่นคงให้กับข้อไหล่ได้ด้วยวัสดุจากยางยืดที่มีคุณภาพ สามารถยืดหยุ่นและเพิ่มแรงต้านได้ตามใจชอบแล้วแต่ความต้องการของเราเลย และสามารถใช้งานได้หลากหลายไม่เพียงแค่ช่วยเรื่องไหล่ติด สามารถช่วยบรรเทาอาการออฟฟิศซินโดรมที่เกิดจากกล้ามเนื้อไม่แข็งแรงได้อีกด้วย
ชอบBewell อธิบายการใช้พร้อมภาพประกอบ
สินค้ามีคุณภาพ
ถาม:ยางยืดมีอายุการใช้งานไม่คะ
ขอบคุณมากค่ะ 🙂 เรื่องอายุการใช้งานของยางยิดออกกำลังกายจะอยู่ที่ประมาณ 2-3 ปีนะคะ หรืออาจจะมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับการใช้งานและการเก็บรักษาค่ะ