โดยปกติแล้วคนส่วนใหญ่จะชอบนั่งทำงานบนโต๊ะทำงานกัน แต่ก็จะมีกลุ่มคนบางประเภท เช่น นักเรียน นักศึกษา ที่ชอบใช้โต๊ะญี่ปุ่นมานั่งอ่านหนังสือกันที่หอ หรืออย่างช่วงที่ผ่านมาต้อง work from home คนส่วนมากก็จะนั่งพื้นเอาโน้ตบุ๊ควางไว้ที่ตัก ไม่ก็นั่งพื้นพิงโซฟาที่บ้านเพราะรู้สึกง่าย ชิล ไม่ต้องนั่งทำงานบนโต๊ะเหมือนอยู่ออฟฟิศ แต่เมื่อนั่งไปนานๆ ก็เกิดอาการ ปวดหลังส่วนล่าง และปวดก้นได้ เนื่องจากพื้นที่นั่งแข็งไป หรือท่านั่งในการทำงานไม่ถูกต้อง เช่น ก้มคอ ก้มหลังมากจนเกินไป หรือที่พิงหลังไม่เหมาะสม
วันนี้ Bewell อยากชวนเพื่อนๆ มาลองปรับเปลี่ยนวิธีการนั่งพื้นให้หายปวดก้นและหลังส่วนล่างกัน ถ้าพร้อมแล้ว ไปเริ่มกันเลย !
1. ปรับเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ
ท่านั่งทำงานบนพื้นจริงๆ แล้วเป็นท่าที่ไม่เหมาะสม แต่ในบางกรณีเราก็ไม่มีโต๊ะให้นั่งทำงาน หรือว่าบางคนชอบนั่งกับพื้นเวลาทำงาน การปรับเปลี่ยนอิริยาบถของท่านั่งบ่อยๆ จะช่วยทำให้กล้ามเนื้อทำงานลดลงได้ และถ้าหากเรานั่งอยู่ท่าเดิมนานๆ ก็ยังส่งผลต่อโรคได้หลายชนิดอย่างเช่น โรคอ้วน เพราะการนั่งทำงานเฉยๆ ระบบเผาผลาญร่างกายจะทำงานลดลง ซึ่งโรคอ้วนสามารถเป็นภาวะเสี่ยงของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด หรืออาจะส่งผลกระทบถึงระบบกระดูกและกล้ามเนื้อได้
2. เสริมเบาะรองนั่ง
การนั่งพื้นก็อาจจะทำให้เราเกิดอาการปวดก้นได้ เนื่องจากพื้นที่เรานั่งอาจจะแข็งเกินไปและเวลาน้ำหนักตัวที่กดลงมาก็จะผ่านปุ่มกระดูกก้นกบโดยตรง ซึ่งหากเรานั่งในท่าเดิมนานๆ ก็จะเกิดอาการปวดบริเวณกระดูกก้นกบ รวมถึงเกิดความตึงตัวของกล้ามเนื้อกลุ่มสะโพกได้ นอกจากนี้ยังเกิดอาการชาร้าวลงขาทั้งสองข้างได้จากกลุ่มกล้ามเนื้อบริเวณสะโพกที่ตึงตัวแล้วไปหนีบทับเส้นประสาทที่ลอดผ่านกล้ามเนื้อดังกล่าว ดังนั้นเราจึงควรหาเบาะรองนั่งมาซัพพอร์ตก้นของเราให้ไม่สัมผัสกับพื้นแข็งๆ มากจนเกินไป
ปวดก้นกบ จะมีอาการอย่างไรบ้าง อ่านเพิ่มเติม : นั่งนาน ๆ ระวังอาการปวดก้บกบ
3. เสริมเบาะรองหลัง
ปกติเวลาเรานั่งเราจะมีการก้มคอ ทำให้หลังเราค่อมได้ง่าย เพราะฉะนั้นเราควรปรับตัวเองให้พยายามนั่งหลังตรง หรือหาที่พิงดีๆ ไว้สำหรับพิงหลัง เพราะการนั่งนานๆ ก็เป็นหนึ่งในสาเหตุของอาการ”ปวดหลังส่วนล่าง”ได้ เนื่องจากเกิดการทำงานของกล้ามเนื้อหลังที่มากเกินไป หรือเกิดจากท่านั่งที่ไม่ถูกตรง ทำให้น้ำหนักตัวกดทับลงบนหมอนรองกระดูกสันหลังมากเกินไป ซึ่งการมีที่พิงหลังดีๆ เช่น เบาะรองหลัง ก็จะสามารถช่วยลดการทำงานของกล้ามเนื้อหลังให้ผ่อนคลายมากขึ้น ลดการทับของหมอนรองกระดูกสันหลัง แถมยังปรับสรีระของเราให้อยู่ในแนวปกติได้อีกด้วย
4. พักให้บ่อยขึ้น
อาการปวดหลังส่วนล่าง ปวดก้น หรือปวดกล้ามเนื้อในตำแหน่งอื่นๆ ก็สามารถเกิดขึ้นได้แม้เราจะพยายามนั่งให้ถูกต้อง หรือหาตัวช่วยพวกเบาะรองนั่ง เบาะรองหลังแล้ว แต่การพักร่างกายจากการทำงานถือเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการผ่อนคลายกล้ามเนื้อจากการทำงาน หรือผ่อนคลายจิตใจได้ด้วย ซึ่งเราควรลุกออกจากโต๊ะทำงานทุกๆ 2 ชั่วโมง ไปเข้าห้องน้ำหรือไปทำกิจกรรมอย่างอื่น เช่น ยืดกล้ามเนื้อ หรือเดินไปพูดคุยกับเพื่อนร่วมงานเพื่อผ่อนคลาย เป็นต้น
5. ยืดกล้ามเนื้อหลัง ก้น และขา
การนั่งทำงานไปนานๆ สิ่งที่จะเกิดได้เลยก็คือ ความตึงตัวของกล้ามเนื้อซึ่งโดยเฉพาะเวลาเรานั่งบนพื้นกล้ามเนื้อส่วนหลัง ก้น ขาของเราจะมีความตึงตัวมากขึ้น นอกจากการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อจะเพิ่มมากขึ้น อีกอาการที่สามารถเกิดได้ก็คือตะคริวที่ขา เนื่องจากท่านั่งที่พื้นเราจะถนัดเป็นท่าขัดสมาธิ ซึ่งท่านี้จะมีการกดทับของหลอดเลือดและเส้นประสาทบริเวณข้อพับเข่าทำให้เกิดตะคริว หรือขาชาได้ ดังนั้นการยืดเหยียดกล้ามเนื้อจึงเป็นวิธีลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อ เพิ่มการไหลเวียนของเลือดมาเลี้ยงที่กล้ามนเนื้อทำให้ลดอาการชาหรือตะคริวที่อาจจะเกิดขึ้นได้ด้วย
หากไม่รู้ต้องยืดกล้ามเนื้ออย่างไร อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : รวมท่าบริหารกล้ามเนื้อลดอาการปวดหลังจากการนั่งนาน
การเปลี่ยนอิริยาบท การหาเบาะรองนั่ง รองหลัง การยืดกล้ามเนื้อรวมไปถึงการพักจากการทำงาน ทั้ง 5 วิธีนี้ หากเพื่อนๆ ได้ลองนำไปปรับใช้กัน Bewell เชื่อว่าจะสามารถช่วยลดอาการปวดก้นหรือหลังส่วนล่างของเพื่อนๆ ได้ไม่มากก็น้อยเลยทีเดียว
ตัวช่วยพิเศษจาก Bewell เบาะรองนั่ง & เบาะรองหลัง
อุปกรณ์เสริมที่ควรมีของคนชอบนั่งทำงานบนพื้น เพราะพื้นที่แข็งเกินไปอาจทำให้เราเจ็บกระดูกก้นกบ และทำให้ก้น หลังส่วนล่างมีความตึงตัวเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติได้ การมีเบาะรองหลัง และรองนั่งช่วยซัพพอร์ตนอกจากะได้ความสบายแล้ว ยังรองรับบริเวณก้นกบ และหลังส่วนล่างของเราทำให้กล้ามเนื้อทำงานได้สบายมากขึ้น คลายอาการปวดเมื่อยไปได้ด้วย และด้วยตัวเบาะทำจากวัสดุเมมโมรี่โฟมแท้ 100% นั่งไปกี่ครั้งก็ไม่ยุบบุบสลาย ใช้งานได้ยาวนาน แต่ถ้าหากใครสงสัยว่าเบาะแต่ะละตัวมีความแตกต่างกันอย่างไร ก็ตามไปอ่านเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจได้ที่ : เบาะเพื่อสุขภาพ Bewell แต่ละรุ่นแตกต่างกันอย่างไร