อาการ เวียนหัว บ้านหมุน เป็นหนึ่งในอาการของโรคเกี่ยวกับหูชั้นใน หรือ โรคเกี่ยวกับสมองได้ ในบางคนอาจจะเป็นอาการที่เป็นจนเคยชิน แต่ในบางคนเป็นแค่ครั้งเดียวก็เข็ดแล้วก็มี รู้สึกโคลงเคลเหมือนอยู่บนเรือ มองเห็นภาพไหลช้าๆ เป็นตอนตื่นนอน เป็นตอนเปลี่ยนท่าเร็วๆ ปล่อยไว้ให้หายเองได้ไหม เป็นอาการของไมเกรนหรือเปล่า อันตรายแค่ไหน วันนี้พาไปรู้จักอาการเวียนหัวบ้านหมุนกันนะคะ
เวียนหัว บ้านหมุน เป็นอาการแสดงของความผิดปกติของระบบการทรงตัว (Vestibular system) ที่คอยควบคุมในขณะที่เราเคลื่อนไหว ให้สมดุล ไม่ล้ม และเคลื่อนไหวได้อย่างราบรื่น ภายในหูชั้นใน (labyrinth) มีอวัยวะควบคุมเกี่ยวกับการทรงตัว 4 โครงสร้าง utricle, saccule, semicircular canal และการได้ยิน (cochlea) ในอวัยวะควบคุมเกี่ยวกับการทรงตัว utricleมีตะกอนหินปูน (otoconia) ที่เคลื่อนไปมาโดยไม่หลุด ซึ่งเมื่อระบบการทรงตัวถูกรบกวนจึงทำให้การเคลื่อนไหวไม่ราบรื่นนั่นเอง โรคที่พบได้บ่อยๆ คือ
-
โรคตะกอนหินปูนใน หูชั้นใน หลุด (Benign Paroxysmal Positional Vertigo- BPPV)
ใน หูชั้นใน ของเราจะมีตะกอนหินปูนที่เป็นส่วนในการรับรู้การเคลื่อนไหวของศรีษะ เมื่อตะกอนหลุดจึงทำให้เราสูญเสียการรับรู้การเคลื่อนไหวของศรีษะ และ กระตุ้นให้เกิดอาการ เวียนหัว บ้านหมุนได้ โดยอาการจะเกิดได้หลายครั้งต่อวัน แต่ในแต่ละครั้ง อาการจะเป็นไม่นาน 30 วินาที – 1 นาที และ ไม่หนักเท่าครั้งแรก แต่ถ้าเคลื่อนไหวศรีษะในท่าเดิมอีก อาการก็จะกลับมาได้ โดยที่ผู้ป่วย โรค BPPV จะไม่มีอาการหูอื้อ เสียงดังในหู หรือ แขนขา ชา อ่อนแรง พูดไม่ชัด หรือ เป็นลมหมดสติร่วมด้วย
-
ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคตะกอนหินปูนใน หูชั้นใน หลุด
-
อุบัติเหตุ
-
บาดเจ็บบริเวณศีรษะ
-
ความเสื่อม ในคนที่มีอายุมากกว่า 50 ปี แทบจะเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดอาการ เวียนหัว บ้านหมุนได้
-
อาการของโรคตะกอนหินปูนใน หูชั้นใน หลุด
-
เวียนหัว บ้านหมุน
-
โคลงเคลง
-
เสียการทรงตัว
-
คลื่นไส้ อาเจียร
-
ตากระตุก
เมื่อมีการเคลื่อนไหวของศีรษะโดยเฉพาะในแนวดิ่งอย่างรวดเร็ว เช่น ล้มตัวลงนอน หรือลุกจากที่นอน ก้มหยิบของ หรือเงยหน้ามองที่สูง ก้มหน้ามองที่ต่ำ เอียงคอ
-
การรักษา
-
ยาบรรเทาอาการเวียนศรีษะ
-
ทำกายภาพบำบัด
-
ผ่าตัด
ส่วนใหญ่แล้วอาการจะดีขึ้นในการทำกายภาพบำบัด 1-2 ครั้ง เพื่อให้ตะกอนกลับเข้าไปในโครงสร้างของ หูชั้นใน แต่สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้อีก วันนี้มีท่าออกกำลังกายมาฝากกันค่ะ
-
ท่าที่ 1 Brandt Daroff exercise
ท่าเริ่มต้น : นั่งห้อยขาข้างเตียง 2 ข้าง
หลังจากนั้นล้มตัวลงนอนตะแคงด้านใดด้านหนึ่ง หมุนศรีษะให้จมูกชี้ขึ้น 45 องศา ค้างไว้ 30 วินาที หรือ จนกว่าจะหายเวียนหัว
เมื่อครบ 30 วินาที หรือ อาการเวียนหัวหายแล้ว ให้ลุกขึ้นมานั่งหน้าตรงเหมือนท่าเริ่มต้น และ ทำอีกรอบในฝั่งตรงข้าม นับเป็น 1 ครั้ง
ทำ 3-5 ครั้ง/รอบ 3รอบ/วัน
-
ท่าที่ 2 กรอกลูกตาทางซ้าย-ขวา
ท่าเริ่มต้น : นั่งตัวตรง หน้าตรง มองตรง
หลังจากนั้นค่อยๆกรอกลูกตาช้าๆ ไปทางซ้าย และ ขวา โดยที่ไม่หันศีรษะตามไป อยู่ในท่าเริ่มเหมือนเดิม
เริ่มจากช้าๆและค่อยเพิ่มความเร็ว
15-20 ครั้ง/รอบ 4-5รอบ/วัน
-
ท่าที่ 3 : กรอกลูกตา ขึ้น-ลง
ท่าเริ่มต้น : นั่งตัวตรง หน้าตรง มองตรง
หลังจากนั้นค่อยๆกรอกลูกตาช้าๆ ไปทางซ้าย และ ขวา โดยที่ไม่หันศีรษะตามไป อยู่ในท่าเริ่มเหมือนเดิม
เริ่มจากช้าๆและค่อยเพิ่มความเร็ว
15-20 ครั้ง/รอบ 4-5รอบ/วัน
การดูแลตนเองเบื้องต้น
- หากเริ่มมีอาการเวียนหัวบ้านหมุน ให้รีบนั่งลง หรือ นอนราบ
- ในตอนตื่นนอน ควรค่อยๆลุก ค่อยๆเคลื่อนไหว ไม่ควรเคลื่อนไหวตัวเร็ว
- หลีกเลี่ยงการนอนตะแคงในฝั่งที่กระตุ้นอาการลง
- ควรออกกำลังกายในชนิดที่มีการเคลื่อนไหวของศีรษะน้อยที่สุด
- ขณะไปพบทันตแพทย์ หรือ นอนเตียงสระผม อาจจะเป็นการกระตุ้นอาการได้