เชื่อว่าพนักงานออฟฟิศส่วนใหญ่ช่วงนี้ก็จะได้ทำงานที่บ้าน แต่การทำงานที่บ้านบางทีมันก็ช่างไม่ Productive หรือพูดกันง่าย ๆ เลยว่า ประสิทธิภาพการทำงานลดลงอย่างมากเลยก็ว่าได้ เพราะบางบ้านสภาพแวดล้อมก็อาจจะไม่เหมาะกับการทำงานที่บ้าน จึงอาจจะเกิดปัญหาทางด้านสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจตามมาได้ และปัญหาสุขภาพทางร่างกายที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เลยก็คือ อาการออฟฟิศซินโดรม ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดคอ บ่า และ ปวดหลังล่าง ซึ่งปัญหานี้ไม่ว่าจะทำงานที่ไหน ๆ ก็เกิดขึ้นได้เสมอ ถ้าไม่อยากปล่อยให้อาการปวดต่าง ๆ เรื้อรังจนไม่สามารถแก้ได้ มาพบกับ 3 วิธีที่จะทำให้ Work from home ไม่ปวดหลังอีกต่อไป
3 เทคนิคสำหรับการ Work From Home ไม่ให้ปวดหลัง
1.ปรับ (อุปกรณ์เสริมการทำงาน)
เมื่อสถาการณ์โควิดทำให้หลายบริษัทต้องให้พนักงาน Work from home แต่สำหรับบางบ้านก็อาจจะไม่ได้พร้อมกับการทำงานที่บ้านเอาซะเลย ไหนจะเสียงรบกวนข้างบ้าน แม่ใช้ทำงานบ้านบ้าง หรือปัญหาเบสิคของการ WFH ก็อาจจะมาจากอุปกรณ์ที่ไม่พร้อม เช่น เก้าอี้ไม่เป็นใจ เบาะแข็งเกินไป หรือต้องนั่งทำงานที่พื้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้ก็ควรได้รับการแก้ไขอาจจะเป็นการหาหมอน หรือเบาะมาซัพพอร์ตก้นและหลังทำนั่งได้สบายมากขึ้น และยังเป็นการลดกดทับของแนวกระดูกสันหลังของร่างกายอีกด้วย ถือว่าเป็นอีกวิธีที่จะช่วยบรรเทาอาการปวดหลังจากการนั่งทำงานได้
แล้วทำไมเราจึงควรใช้เบาะรองหลัง รองนั่ง เมื่อเก้าอี้เราไม่พร้อมหรือถ้าเราต้องนั่งบนพื้นแข็งนาน ๆ นั้นก็เพราะว่าจะทำให้กล้ามเนื้อหลังส่วนล่างและก้น เกิดความตึงตัวได้นั้นเอง หรือถ้าหากใครที่นั่งนาน ๆ ก็อาจจะเกิดอาการ’ปวดหลังล่าง’และกระดูกก้นกบตามมาได้ เพราะตรงบริเวณนั้นเป็นส่วนที่กล้ามเนื้อปกคลุมน้อยหรือแถบไม่มีเลยก็ว่าได้ เมื่อเรานั่งกับพื้นแข็งบ่อย ๆ ก็อาจทำให้เกิดการกดทับที่กระดูกก้นกบจนอาจจะทำให้เรารู้สึกไม่สบายเวลานั่งพื้นแข็ง ๆ ได้นั้นเอง
หรือหากใครสงสัยว่าอาการปวดก้บกบเป็นอย่างไร อ่านเพิ่มเติม : นั่งนาน ๆ ระวังเกิดอาการ ปวดกระดูกก้นกบ
2.ลด (พฤติกรรมนั่งนาน)
การลดหรือการแบ่งเวลาให้กับตัวเองขณะทำงานที่บ้านถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นเลยก็ว่าได้ เพราะการทำงานที่บ้านส่วนมากจะทำให้เราลืมเวลาพักของตัวเอง และอาจจะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นออฟฟิศซินโดรมง่ายกว่าอยู่ที่ออฟฟิศอีกด้วย (ถ้าใครอยากรู้ว่าอยู่บ้านเสี่ยงเป็นออฟฟิศซินโดรมได้อย่างไร อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : Work From Home ก็เป็นออฟฟิศซินโดรมได้) ดังนั้น เราควรตั้งนาฬิกาปลุกหรือเตือนให้เราลุกออกไปเดินทุก 1-2 ชั่วโมง ให้ร่างกายได้พักทั้งสมองและกล้ามเนื้อไปพร้อม ๆ กันได้อีกด้วย
นอกจากการลดพฤติกรรมการทำงานแล้วนั้น หลักการนั่งทำงานที่ดีก็มีผลเช่นกัน อ่านเพิ่มเติม : นั่งทำงานอย่างไร ให้สุขภาพดี
3.ขยับ (ร่างกาย)
การลดพฤติกรรมนั่งนานก็ควรมาควบคู่กับ ”การขยับ” ร่างกายนั่นเอง เพราะมนุษย์เราไม่ได้ถูกออกแบบมาให้อยู่ในท่าเดิม ๆ เป็นระยะเวลานาน ๆ เพราะเมื่อไหร่ที่ร่างกายไม่ได้ขยับก็จะเกิดปัญหาอย่างออฟฟิศซินโดรมตามมารบกวนร่างกายได้อย่างแน่นอน เราจึงควรมีการยืดกล้ามเนื้อระหว่างการพัก หรือการขยับปรับเปลี่ยนอิริยาบถของร่างกายอยู่ตลอดเวลา เพื่อทำให้กล้ามเนื้อไม่คงค้างในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานาน ๆ นั่นเอง หรือถ้าจะให้ผลที่ยั่งยืนต่อกล้ามเนื้อเลยก็ควรจะหาเวลาในการออกกำลังกายให้กับตัวเอง เพราะการออกกำลังกายนอกจากจะช่วยให้อาการปวดหลังดีขึ้นแล้วยังทำให้สุขภาพร่างกายดีขึ้น ไม่อ่อนเพลียง่าย หลับสบายมากขึ้น และยังช่วยทำสุขภาพจิตดีได้อีกด้วย
ไม่ว่าจะทำงานที่ไหนเรื่องของสุขภาพร่างกายและจิตใจก็ควรเป็นสิ่งที่ต้องดูแลและเอาใจใส่ เพราะถ้าร่างกายเราดี สภาพจิตใจเราดี งานที่เราทำก็จะออกมามีประสิทธิภาพ และช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับการทำงานของเราในแต่ละวันอีกด้วย และหากใครไม่อยากมีปัญหาของอาการออฟฟิศซินโดรมตามมากวนถึงที่บ้าน ก็ลองทำตาม 3 วิธีข้างต้น กับอีก 1 ตัวช่วยเสริมกันดู เพื่อเราจะได้มีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่ดีขึ้นได้นั่นเอง
ปวดหลัง จากการทำงานอย่าปล่อยทิ้งไว้
ควรเสริมด้วยตัวช่วยดี ๆ อย่าง เบาะรองหลัง รองนั่ง เพราะปัญหาสำคัญของการทำงานที่บ้านก็คงหนีไม่พ้นอาการจากออฟฟิศซินโดรมแน่อน แต่อาจจะเปลี่ยนชื่อมาเป็นโฮมซินโดรมแทน สำหรับคนที่บ้านอาจจะไม่ได้พร้อมสำหรับการ WFH เก้าอี้ไม่เป็นใจ เบาะแข็งเกินไป หรือต้องนั่งทำงานที่พื้น ก็ควรมีเบาะมาซัพพอร์ตกล้ามเนื้อ เพื่อช่วยบรรเทาอาการ’ปวดหลังล่าง’ และทำให้นั่งสบายมากยิ่งขึ้นด้วย และนอกจากเบาะที่จะช่วยทำให้การนั่งทำถูกต้องมากยิ่งขึ้นแล้วนั้น ก็ควรเสริมด้วยอุปกรณ์ซัพพอร์ตในส่วนอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นแท่นวางโน๊ตบุ๊ค เพื่อสุขภาพ ที่จะช่วยปรับให้โน๊ตบุ๊คอยู่พอดีกับระดับสายตา เพื่อบรรเทาอาการปวดคอ บ่า จากการก้มหน้า หรือยื่นหน้าเข้าไปใกล้จอคอมนั่นเอง หรือการใช้เมาส์ไร้สายเพื่อสุขภาพ ที่มาพร้อมแผ่นรองเมาส์ และรองข้อมือ ทำให้ข้อมือไม่บิดหมุน และอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องมากขึ้น เพื่อช่วยลดการทำงานของกล้ามเนื้อข้อมือได้อีกด้วย