หลายๆคนทรมารจากอาการปวดหลังร้าวลงขา แต่ก็ใช่ว่าอาการนี้จะเป็นสาเหตจากหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้เพียงอย่างเดียว ซึ่งอาการดังกล่าวย่อมรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น นั่ง นอน ยืน เดิน บางคนอาการปวดยาวนานหลายเดือนอาจจะนานหลายปีก็มี เหตุผลที่มีอาการปวดหลังร้าวลงขาก็มาได้จากหลากหลายอย่าง จากการทรงท่าในการนั่ง ยืน หรือ จากการทำงาน จากการยกของหนัก หรือแม้แต่การเกิดอุบัติเหตุ
กล้ามเนื้ออักเสบ (QL strain)
กล้ามเนื้อมัดนี้จะวางตัวอยู่ระหว่างกระดูกซี่โครงและกระดูกเชิงกราน แถวๆบริเวรบั้นเอว ลึกๆ ซึ่งหากมีอาการอักเสบเกิดขึ้นไม่ว่าจะจากท่าทางที่ไม่ถูกต้องขณะนั่งทำงาน ยืน นอน หรือ ยกของหนัก ซ้ำๆเป็นเวลานาน ทำให้กล้ามเนื้อหดเกร็งจนเกิดอาการปวดร้าวลงสะโพก หรือ ขาได้ แต่จะไม่มีอาการอ่อนแรงของขาร่วมด้วย
กระดูกสันหลังเสื่อม
กระดูกสันหลังมักจะเสื่อมตามวัย พบได้มากในผู้สูงอายุ กระดูกสันหลังเมื่อเสื่อมแล้วจะกดทับหมอนรองกระดูกและทำให้หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้ จะมีอาการปวดหลังร้าวลงขา และมีอาการอ่อนแรงของขาและเท้าวร่วมด้วย
โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ
ตลอดความยาวของกระดูกสั้นหลังจะมีโพรงเป็นที่อยู่สำหรับเส้นเลือด เส้นประสาท เมื่อโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบลง ซึ่งอาจจะมาจากการมีกระดูกที่หนาขึ้น กระดูกสันหลังเคลื่อน อาจจะเกิดร่วมกันในหลายๆภาวะได้ และจะมีอาการปวดหลังร้าวลงขา ชา มีการอ่อนแรงของขาและเท้าร่วมด้วย อาจจะเป็นได้ข้างเดียว หรือ ทั้ง 2 ข้าง
กระดูกสันหลังคด
เป็นได้ตั้งแต่เกิดหรือจากพฤติกรรมการนั่ง ยืน เดิน นอน ที่ไม่ถูกต้อง การคดของกระดูกสันหลังออกไปจากแนวเดิมล้วนทำให้เกิดการกดทับของหมอนรองกระดูก หรือ โพรงประสาท ซึ่งทำให้เกิดอาการปวดร้าวลงขาตามมาได้
ป้องกันไว้ก่อนปวด
หลายๆสาเหตุรักษาได้หายขาด แต่บางสาเหตุก็ไม่ใช่ ป้องกันอาการปวด และ ดูแลตนเองได้ตั้งแต่วันนี้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ส่งผลให้เกิดอาการปวด เช่น นั่งทำงานนานๆ ก็เปลี่ยนมาเป็นยืนทำงานบ้างสลับกันให้กล้ามเนื้อได้คลาย โต๊ะปรับระดับได้ สนับสนุนให้ทุกคนไม่อยู่ในท่าเดิมนานๆ