บทความสุขภาพ

5 เช็คลิสต์ที่ต้องดูก่อนเลือกซื้อ เตียงผู้สูงอายุ / เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า

เตียงผู้สูงอายุ

เมื่อผู้สูงอายุหรือสมาชิกที่บ้านต้องกลับมารักษาตัวหรือพักฟื้นที่บ้าน แต่ไม่สามารถใช้เตียงนอนทั่วไปได้ ด้วยเงื่อนไขทางร่างกายและอาการต่างๆ เช่น การนอนราบไม่ได้ ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้คล่องอย่างเก่า เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า หรือ เตียงผู้สูงอายุ จึงจำเป็นสำหรับผู้สูงอายุ/ผู้ป่วย รวมทั้งสมาชิกในบ้าน เพราะช่วยอำนวยความสะดวกและช่วยให้หายห่วงเรื่องความปลอดภัย แต่หลายครั้งที่การเจ็บป่วยเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน ทำให้ลูกหลานหรือผู้ดูแลไม่แน่ใจว่าจะเลือกซื้อเตียงอย่างไรดี Bewell เลยอยากชวนมาดู 5 เช็คลิสต์ก่อนตัดสินใจซื้อ เตียงผู้สูงอายุ ในบทความนี้

เตียงผู้สูงอายุ / เตียงผู้ป่วย ไฟฟ้า ราคาเท่าไร ?

ราคาเฉลี่ยของ เตียงผู้สูงอายุ/ เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า มีตั้งแต่ราคาหลักหมื่นไปจนถึงหลักแสน ขึ้นอยู่กับความหลากหลายของฟังก์ชั่นการปรับ วัสดุ และความคงทนแข็งแรง โดยเตียงแบบมือหมุนจะราคาประหยัดมากกว่าเตียงไฟฟ้า แต่หากต้องการความสะดวกต่อการใช้งานในระยะยาว เตียงผู้ป่วยไฟฟ้านับเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์มากกว่า เพราะมีรีโมตหรือปุ่มปรับอัตโนมัติช่วยอำนวยความสะดวกต่อผู้ดูแลให้ไม่ต้องก้มๆ เงยๆ เมื่อต้องปรับเตียง รวมทั้งช่วยให้ผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยสามารถปรับเองได้โดยไม่ต้องรอลูกหลาน

เช็คลิสต์ที่ต้องดูก่อนเลือกซื้อเตียงผู้สูงอายุ / เตียงผู้ป่วย ไฟฟ้า 

  1. ฟังก์ชั่นการปรับที่ตอบโจทย์การใช้งาน เช่น คนที่มีปัญหาเรื่องการนอนราบ แต่ขยับร่างกายได้ตามปกติ อาจต้องการฟังก์ชั่นที่ปรับพนักพิงหลังให้สูงขึ้นได้ และการปรับลงต่ำเพื่อให้ลุกได้สะดวก ส่วนการปรับชันเข่าหรือที่แขวนน้ำเกลืออาจไม่ได้จำเป็นมากนัก ส่วนผู้ป่วยติดเตียง นอกจากฟังก์ชั่นปรับพนักพิงหลังแล้ว ควรมีฟังก์ชั่นปรับสูงขึ้นสำหรับทำกายภาพบำบัดและทำความสะอาดใต้เตียง ดังนั้นการเลือกเตียงผู้สูงอายุ/เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า จึงไม่จำเป็นต้องมีฟังก์ชั่นหลากหลายเสมอไป แต่ควรเป็นฟังก์ชั่นที่เหมาะสมกับการใช้งานเป็นหลัก
  2. ระบุขนาดเตียงและการรับน้ำหนักสูงสุด โดยเตียงผู้ป่วยทั่วไปจะมีขนาดไม่ต่ำกว่า 90×200 เซนติเมตร ดังนั้น ก่อนเลือกซื้อเตียงอาจจะต้องเลือกให้เหมาะกับน้ำหนักและส่วนสูงของผู้นอน เพื่อไม่ให้อึดอัดจนเกินไปหรือขยับตัวได้ลำบาก และควรระบุน้ำหนักสูงสุดที่สามารถรับได้
  3. ดีไซน์ที่เหมาะกับบ้านและวัสดุที่คงทน เพราะเป็นสิ่งที่ต้องใช้งานเป็นเวลานาน จึงต้องมีความคงทน ไม่เป็นสนิม สามารถทำความสะอาดได้ง่าย และมีดีไซน์ที่สวยงามเข้ากับตัวบ้าน เพราะดีไซน์ของเตียงส่งผลต่อบรรยากาศภายในบ้านและความรู้สึกของผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยเช่นเดียวกัน
  4. การใช้งานที่ไม่ซับซ้อนจนเกินไป เพราะหากเข้าใจการใช้งานได้ง่าย ก็จะสะดวกทั้งต่อผู้ดูแลและผู้สูงอายุที่สามารถปรับเองได้โดยไม่ต้องรอลูกหลานทุกครั้ง
  5. มีความน่าเชื่อถือและรับรองมาตรฐานการผลิต โดยระบุข้อมูลเรื่องการรับรองมาตรฐานการผลิต เงื่อนไขการรับประกันและบริการหลังการขายที่ชัดเจน เพราะหากมีคำถามหรือเกิดปัญหาขึ้น ก็สามารถติดต่อสอบถามได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว เพื่อประหยัดเวลาและความกังวลเมื่อเกิดปัญหาหรือมีข้อสงสัยระหว่างการใช้งาน

เตียงผู้สูงอายุของ Bewell กับฟังก์ชั่นและดีไซน์ที่ตอบโจทย์

เตียงผู้สูงอายุหรือเตียงผู้ป่วยไฟฟ้า ของ Bewell ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลาย พร้อมดีไซน์ที่อบอุ่นเหมือนอยู่บ้าน โดยมี 3 รุ่นให้เลือก 

  • รุ่น Classic เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า 3 ฟังก์ชั่น สำหรับเริ่มต้นดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน ด้วยเตียงไฟฟ้าราคาย่อมเยา 
    • ปรับความชันหลังขึ้น- ลง (Upright Position)  
    • ปรับความชันของขา เข่าขึ้น- ลง (Elevation Position)  
    • ปรับความชันหลังและขาขึ้น-ลง พร้อมกัน (Relaxing Position)  
  • รุ่น Deluxe เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า 5 ฟังก์ชั่น ตอบโจทย์คนที่คุณรักและผู้ดูแล ด้วยฟังก์ชั่นที่หลากหลายขึ้น
    • ปรับความชันหลังขึ้น- ลง (Upright Position)  
    • ปรับความชันของขา เข่าขึ้น- ลง ได้ (Elevation Position)  
    • ปรับเอียงให้ศีรษะต่ำ – เท้าสูง (Trendelenburg)  
    • ปรับเอียงให้ศีรษะสูง – เท้าต่ำ (Reverse Trendelenburg) 
    • ปรับความสูง-ต่ำ (Height Adjustable Mode)  
  • รุ่น Prestige เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า 7 ฟังก์ชัน ที่สุดของการดูแลคนที่คุณรัก ด้วยระบบความปลอดภัยสูงสุด
    • ปรับความชันหลังขึ้น- ลง (Upright Position)  
    • ปรับความชันของขา เข่าขึ้น- ลง ได้ (Elevation Position)  
    • ปรับเอียงให้ศีรษะต่ำ – เท้าสูง (Trendelenburg)  
    • ปรับเอียงให้ศีรษะสูง – เท้าต่ำ (Reverse Trendelenburg)  
    • ปรับท่านั่งอัตโนมัติ หรือท่านั่งบนโซฟา (Recliner Mode)  
    • ปรับความสูง-ต่ำ (Height Adjustable Mode)
    • ปรับเตียงได้ต่ำสุด 23 cm. (Safe Mode) 

อ้างอิงจาก

Slide
ฟรี! ปรึกษาปัญหาด้านสุขภาพ
ปรับท่านั่งทำงานที่ถูกต้อง
ตามหลัก Ergonomics

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *