ความเสี่ยงของผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักจะเป็นการเคลื่อนไหวที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยข้อมูลจาก คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล ระบุว่า ผู้ที่อายุ 65 ปีขึ้นไป ราว 30% เกิดการล้มอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี โดยสาเหตุของการหกล้มส่วนใหญ่มาจากปัจจัยภายใน เช่น หน้ามืด เวียนหัว ความดันโลหิตต่ำ กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง หรือบางคนอาจเกิดอาการเจ็บป่วยที่ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้แบบเดิม และไม่สามารถใช้เตียงทั่วไปได้ ดังนั้น เตียงผู้สูงอายุ หรือ เตียงผู้ป่วย จึงจำเป็นต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งในบทความนี้ เราจะพาไปทำความรู้จักกับเตียงผู้สูงอายุแบบเบื้องต้น ตั้งแต่ เตียงผู้สูงอายุ คือ อะไร ต่างจากเตียงทั่วไปอย่างไรบ้าง ไปจนถึงความหมายของ ไกร์เตียง ที่เรามักจะได้ยินกันบ่อยๆ
เตียงผู้ป่วย / เตียงผู้สูงอายุ คือ อะไร ต่างจากเตียงทั่วไปอย่างไร
เตียงผู้ป่วย / เตียงผู้สูงอายุ คือ เตียงที่มีฟังก์ชั่นและดีไซน์ที่เพิ่มขึ้นมาจากเตียงทั่วไป เพื่อให้เคลื่อนไหวอย่างปลอดภัยและสะดวกต่อผู้สูงอายุ/ผู้ป่วย รวมทั้งผู้ดูแล เช่น ราวกั้นเตียงที่ช่วยป้องกันการพลัดตกจากเตียงและช่วยพยุงตัวเมื่อต้องการลุกจากเตียงได้ ฟังก์ชั่นการปรับลงต่ำได้มากกว่าเตียงทั่วไป เพื่อให้ลงจากเตียงโดยที่เข่าไม่กระแทกและลดความเสี่ยงจากการหกล้ม หรือฟังก์ชั่นการปรับสูงขึ้นกว่าปกติ เพื่อให้สะดวกต่อการทำกายภาพบำบัดและทำความสะอาดใต้เตียงโดยไม่ต้องก้มๆ เงยๆ
นอกจากนี้ ฟังก์ชั่นของเตียงยังช่วยลดความเสี่ยงสุขภาพอื่นๆ ได้ เช่น การปรับพนักพิงหลังให้อยู่ในท่านั่งได้ ช่วยป้องกันการสำลักเมื่อรับประทานอาหาร หรือฟังก์ชั่นการปรับชันเข่าที่ช่วยเรื่องการไหลเวียนเลือด รวมทั้งได้เคลื่อนไหวเปลี่ยนอิริยาบถเพื่อลดแผลกดทับจากการนอนในท่าเดิมเป็นเวลานาน
เตียงผู้สูงอายุ / เตียงผู้ป่วย มีกี่แบบ
- เตียงผู้สูงอายุ/เตียงผู้ป่วยแบบมือหมุน คือเตียงปรับระดับที่สามารถปรับได้ด้วยมือ โดยน้ำหนักจะเบากว่าและราคาไม่สูงมาก ซึ่งส่วนใหญ่เราจะเห็นตามโรงพยาบาล แต่อาจจะไม่เหมาะต่อการดูแลผู้ป่วยที่บ้านในระยะยาว เพราะต้องใช้มือหมุนซึ่งผู้ดูแลต้องก้มๆ เงยๆ ส่วนผู้สูงอายุก็ไม่สามารถปรับเตียงได้ด้วยตัวเอง
- เตียงผู้สูงอายุ/เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า คือเตียงที่มีมอเตอร์ไฟฟ้าและปรับฟังก์ชั่นต่างๆ ได้อัตโนมัติด้วยรีโมตคอนโทรลหรือมีปุ่มควบคุม เพื่ออำนวยความสะดวกทั้งผู้สูงอายุ/ผู้ป่วย และผู้ดูแล เพราะใช้งานง่าย สามารถกดรีโมตปรับได้อัตโนมัติ แต่ข้อเสียคือเตียงประเภทนี้จะมีราคาค่อนข้างสูงกว่าเตียงแบบมือหมุน
ไกร์เตียงคืออะไร และเตียง 3 ไกร์ต่างจากเตียง 5 ไกร์อย่างไรบ้าง
นอกจากเตียงผู้สูงอายุ/เตียงไฟฟ้าจะแบ่งประเภทตามวิธีการปรับแล้ว ยังแบ่งได้ตามฟังก์ชั่นการปรับอีกด้วย โดยคำที่เรามักจะได้ยินบ่อยๆ คือคำว่า ‘ไกร์เตียง’ ซึ่งหมายถึง กลไกหรือฟังก์ชั่นการปรับส่วนต่างๆ ของเตียง อย่างเตียง 3 ไกร์ หมายถึงการปรับได้ 3 ฟังก์ชั่น (แต่จะมีฟังก์ชั่นอะไรบ้างนั้นจะแตกต่างกันไปตามเตียงแต่ละแบบ/ยี่ห้อ) เช่น
- 1 ไกร์: ปรับระดับพนักพิงหลัง
- 2 ไกร์: ปรับระดับพนักพิงหลัง และ ปรับระดับปลายเตียง
- 3 ไกร์: ปรับระดับพนักพิงหลัง ปรับระดับปลายเตียง และ ปรับระดับความสูงต่ำของเตียง
- 4 ไกร์: ปรับระดับพนักพิงหลัง ปรับระดับปลายเตียง ปรับระดับความสูงต่ำของเตียง และ ปรับระดับชันเข่า
- 5 ไกร์: ปรับระดับพนักพิงหลัง ปรับระดับปลายเตียง ปรับระดับความสูงต่ำของเตียง ปรับระดับชันเข่า และปรับความชันของบริเวณศีรษะ/ปลายเท้า
เตียงผู้สูงอายุ Bewell กับฟังก์ชั่นและดีไซน์ที่ตอบโจทย์
เตียงผู้สูงอายุ/เตียงผู้ป่วยไฟฟ้าของ Bewell ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลาย มีทั้งแบบ 3 ไกร์ 5 ไกร์ และ 7 ไกร์ พร้อมดีไซน์ที่อบอุ่นเหมือนอยู่บ้าน
- รุ่น Classic เตียงไฟฟ้า 3 ฟังก์ชั่น สำหรับเริ่มต้นดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน ด้วยเตียงไฟฟ้าราคาย่อมเยา
- ปรับความชันหลังขึ้น- ลง (Upright Position)
- ปรับความชันของขา เข่าขึ้น- ลง (Elevation Position)
- ปรับความชันหลังและขาขึ้น-ลง พร้อมกัน (Relaxing Position)
- รุ่น Deluxe เตียงไฟฟ้า 5 ฟังก์ชั่น ตอบโจทย์คนที่คุณรักและผู้ดูแล ด้วยฟังก์ชั่นที่หลากหลายขึ้น
- ปรับความชันหลังขึ้น- ลง (Upright Position)
- ปรับความชันของขา เข่าขึ้น- ลง ได้ (Elevation Position)
- ปรับเอียงให้ศีรษะต่ำ – เท้าสูง (Trendelenburg)
- ปรับเอียงให้ศีรษะสูง – เท้าต่ำ (Reverse Trendelenburg)
- ปรับความสูง-ต่ำ (Height Adjustable Mode)
- รุ่น Prestige เตียงไฟฟ้า 7 ฟังก์ชัน ที่สุดของการดูแลคนที่คุณรัก ด้วยระบบความปลอดภัยสูงสุด
-
- ปรับความชันหลังขึ้น- ลง (Upright Position)
- ปรับความชันของขา เข่าขึ้น- ลง ได้ (Elevation Position)
- ปรับเอียงให้ศีรษะต่ำ – เท้าสูง (Trendelenburg)
- ปรับเอียงให้ศีรษะสูง – เท้าต่ำ (Reverse Trendelenburg)
- ปรับท่านั่งอัตโนมัติ หรือท่านั่งบนโซฟา (Recliner Mode)
- ปรับความสูง-ต่ำ (Height Adjustable Mode)
- ปรับเตียงได้ต่ำสุด 23 cm. (Safe Mode)
จะเห็นว่า เตียงผู้ป่วย หรือ เตียงผู้สูงอายุ คือ เตียงที่ออกแบบมาให้รองรับการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ/ผู้ป่วย ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบให้เลือกตามความต้องการของแต่ละคน ซึ่งข้อดีของเตียงประเภทนี้ คือการลดความเสี่ยงอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุ/ผู้ป่วย ลดความเสี่ยงสุขภาพจากแผลกดทับหรือการนอนอยู่กับที่เป็นเวลานาน รวมทั้งดูแลสุขภาพใจให้ผู้สูงอายุเพราะสร้างความรู้สึกที่ว่าผู้สูงอายุสามารถดูแลตัวเองได้มากขึ้น ทั้งยังสร้างความอุ่นใจและช่วยแบ่งเบาความเหนื่อยล้าของลูกหลานหรือผู้ดูแลได้อีกด้วย
ที่มา