บทความสุขภาพ

แก้ปวดไหล่ ด้วยยางยืด 1 เส้น

แก้ปวดไหล่ ปวดไหล่

แก้ปวดไหล่ จากการทรงท่าผิดๆที่ทำให้ ไหล่ห่อ คอยื่น พฤติกรรมที่ทำประจำส่งผลให้เป็นได้แบบที่เราแทบไม่รู้ตัว ไหล่ห่อ คอยื่น เป็นสาเหตุของโรคบริเวณ คอ บ่า ไหล่ และ สะบัก ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ปวดคอบ่า ปวดไหล่ กระดูกคอเสื่อม หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทคอ ข้อไหล่ติด หรือกลุ่มอาการเส้นเลือดและเส้นประสาทคอถูกกดทับ แต่เราสามารถลดโอกาสการเกิดโรคต่างๆที่กล่าวมาด้วยออกกำลังกาย และ วันนี้ ยางยืด 1 เส้น จะช่วย แก้ปวดไหล่ อย่างไร รวมไปถึงเป็นอุปกรณ์ออกกำลังกายที่แนะนำให้ทุกคนมีติดบ้านไว้จะยิ่งดีมากๆเลยค่ะ

ออกกำลังกายแก้ปวดไหล่  

สำหรับคนที่มีอาการปวดไหล่อยู่แล้ว ต้องระวังเรื่องอาการปวดที่เพิ่มขึ้น ขณะออกกำลังกาย หากมีอาการปวดอยู่แล้ว แนะนำว่ายังไม่ต้องใช้ยางยืดในการออกกำลังกาย เพราะ การออกกำลังกายแบบใช้ยางยืด ถือเป็นการออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน ( resistance exercise ) อาจจะทำให้กระตุ้นอาการปวดได้ 

โดยการออกกำลังกาย แก้ปวดไหล่ จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบๆหัวไหล่ เพิ่มความมั่นคงให้กับหัวไหล่ ลดอาการปวด และ ช่วยให้อาการไหล่ห่อ คอยื่น ดีขึ้น ส่งเสริมบุคลิกภาพที่ดี 

ท่าที่ 1 Shoulder external rotation

 คือการหมุนหัวไหล่ออก นำยางยืดผูดติดกับเสา หรือ สิ่งปลูกสร้างที่มีความมั่นคง ทิศทางที่เราจะทำคือ งอข้อศอก 90 องศา นิ้วโป้งอยู่ทางด้านบน จับยางยืดและ หมุนไหล่ออกพร้อมหงายมือขึ้น 

  • 10-15 ครั้ง/เซต 3-5 เซต/วัน
ปวดไหล่

ท่าที่ 2 Shoulder squeeze

คือการหนีบสะบักเข้าหากัน เราจะทำพร้อมกันทั้ง 2 ข้าง ขณะทำจะรู้สึกว่ากำลังหนีบสะบักทั้ง 2 ข้างเข้าหากันอยู่ จะรู้สึกเมื่อยๆบริเวณขอบสะบักใกล้ๆกับกระดูกสันหลัง หากทำถูก 

  • 10-15 ครั้ง/เซต 3-5 เซต/วัน

ท่าที่ 3 Lat pull down 

สำหรับท่านี้เราจะกำยางยืดในลักษณะคว่ำมือลง แขนเหยียดตรง และ ดึงยางยืดไปทางด้านหลัง  

  • 10-15 ครั้ง/เซต 3-5 เซต/วัน 

ข้อควรระวัง 

  • ขณะทำต้องไม่มีอาการปวดเพิ่มขึ้นเด็ดขาด หากทำแล้วมีอาการปวดเพิ่มขึ้น หรือ เกิดขึ้น แนะนำให้หยุดทำและพักทันที ไม่ควรฝืน 
  • หากมียังมีอาการปวดอยู่ ยังไม่ควรใช้ยางยืด สามารถทำตามได้ทั้ง 3 ท่าด้านบน

ยางยืดสารพัดประโยชน์ 

เรียกได้ว่าเป็นอุปกรณ์ออกกำลังกายพื้นฐาน ที่อยากให้มีติดไว้ทุกบ้าน พื้นที่น้อย มือใหม่  ใช้งานได้ง่ายและสามารถปรับใช้ได้หลายส่วนของร่างกาย

Slide
ฟรี! ปรึกษาปัญหาด้านสุขภาพ
ปรับท่านั่งทำงานที่ถูกต้อง
ตามหลัก Ergonomics

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *