สลักเพชร คือ
สลักเพชร คือ อาการปวดลึกบริเวณแก้มก้น และมีอาการชาร้าวลงขา ซึ่งเกิดจากกลุ่มกล้ามเนื้อบริเวณสะโพกมัดลึกมีการเกร็งตัว หรือหดตัว จากการใช้งานหนักของกล้ามเนื้อ และเกิดการกระแทกบริเวณก้น ทำให้กล้ามเนื้อดังกล่าวไปกดทับ และหนีบเส้นประสาท Sciatic ที่ลอดผ่านใต้กล้ามเนื้อสะโพกมัดลึก หรือที่มีชื่อว่า “Pirifomis”
สลักเพรช จึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า Piriformis syndrome หรือ โรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบทับเส้นประสาทได้นั่นเอง ซึ่งอาการของโรคนี้ก็มีลักษณะที่คล้ายกับโรคปวดหลังส่วนล่าง (Low back pain) โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท (Lumbar radiculopathy) หรือ โรคเยื่อหุ้มข้อสะโพกอักเสบ (Trochanteric Bursitis) เป็นต้น ซึ่งถ้าเราเกิดอาการปวดก้น สะโพก และมีอาการชาร้าวลงขาก็อาจจะต้องได้รับการวินิจัยฉัยที่ละเอียดถี่ถ้วนจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาอาการของโรคต่อไปนั่นเอง
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดสลักเพรช หรือโรค Piriformis syndrome
- การเคลื่อนไหวร่างกายส่วนของขาและสะโพกผิดท่า เช่น การยกของหนัก การเล่นกีฬา
- การนั่งอยู่ในอิริยาบถเดิม ๆ เป็นระยะเวลานาน ๆ เช่น การนั่งทำงานในออฟฟิศ การขับรถติดต่อกันหลายชั่วโมง
- ได้รับอุบัติเหตุกระทบต่อบริเวณก้นและสะโพก เช่น ลื่นล้ม
อาการที่เกิดขึ้นของ Piriformis syndrome
- อาการปวดลึก ๆ ที่บริเวณกล้ามเนื้อก้น และอาจมีอาการชาร้าวลงขาได้
- อาการปวดที่บั้นท้าย
- สามารถคลำเจอจุดก้นกบที่กล้ามเนื้อก้นมัดลึกได้
- อาการปวดมากขึ้นเวลานั่งเป็นระยะเวลานาน ๆ
- เมื่อมีการยืดกล้ามเนื้อ Piriformis จะมีอาการปวดที่เพิ่มมากขึ้น
การดูแลและรักษา Piriformis syndrome
สลักเพชรจม หรืออีกชื่อเรียกของอาการกลุ่มกล้ามเนื้อสะโพกหนีบทับเส้นประสาท ซึ่งอาการสลักเพชรจมนี้ ก็สามารถดูแลตัวเองได้เบื้องต้นได้ง่าย ๆ จากวิธีการดังนี้
- การประคบร้อน ซึ่งควรแผ่นประคบร้อนไปบริเวณก้นที่เราปวด ความร้อนจากแผ่นประคบจะช่วยทำให้กล้ามเนื้อโดยรอบผ่อนคลาย และยังยับยั้งอาการปวดได้อีกด้วย โดยประคบประมาณ 15- 20 นาที
- การยืดกล้ามเนื้อ จะเป็นการช่วยขยับข้อต่อบริเวณสะโพกทำให้ขยับได้ดีขึ้น และยังทำให้กล้ามเนื้อเกิดความยืดหยุ่น จึงส่งผลให้เกิดการไหลเวียนของเลือดมายังบริเวณที่ปวด ก็จะเป็นการช่วยลดอาการปวดได้อีกทางหนึ่ง
- การปรับพฤติกรรมในการทำงาน จะเห็นได้ว่าอาการปวดที่เพิ่มมากขึ้นของโรคนี้จะเกิดขึ้นตอนนั่งทำงานเป็นหลัก หรือตอนเปลี่ยนท่าทาง ซึ่งถ้าหากเราต้องนั่งทำงานมากกว่า 1 ชั่วโมงขึ้นไปก็อาจจะเป็นการกระตุ้นอาการปวดให้เกิดมากขึ้นได้ เราจึงควรปรับเปลี่ยนอิริยาบถในการทำงานทุก ๆ 1-2 ชั่วโมง ให้ร่างกายได้ขยับ และเป็นการเพิ่มการไหลเวียนของกล้ามเนื้อได้นั่นเอง
ใช้ตัวช่วยในการเปลี่ยนอิริยาบถระหว่างวันด้วย โต๊ะปรับระดับเพื่อสุขภาพ
โต๊ะทำงานรูปแบบใหม่ ของคนที่ใส่ใจสุขภาพ สามารถยืนสลับนั่งทำงาน ลดการกดทับของกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า หลัง ทำให้เกิดการไหลเวียนในร่างกายได้ดีขึ้น อีกทั้งยังลดความเสี่ยงของอาการบาดเจ็บของร่างกายจากการนั่งทำงานเป็นระยะเวลานาน ๆ ได้อีกด้วย