อาการยอดฮิตของชาววัยทำงานคงหนีไม่พ้นอาการ ‘ปวดบ่า ไหล่’ ที่สามารถพบได้ตั้งแต่เริ่มทำงานแรก ๆ จนไปถึงทำงานมาเป็น 10- 20 ปีแล้วก็ตาม นอกจากอาการปวดแล้ว ก็ยังมีอาการตึง หรือในบางคนก็มีอาการชาร้าวลงไปถึงแขนและมือ อาการเหล่านี้ก็ล้วนมีสาเหตุ เช่น หมอนรองกระดูกสันหลังระดับคอเสื่อม กล้ามเนื้อสะบักอ่อนแรง หรือโครงสร้างร่างกายไม่สมดุล เช่น หลังค่อม ไหล่ห่อ เป็นต้น ซึ่งสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการบริหารกล้ามเนื้อ ไม่ว่าจะเป็นการยืดกล้ามเนื้อเพื่อลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อ และการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อ ถ้าอยากรู้ว่าจะมีท่าอะไรบ้าง ตามไปอ่านข้างล่างนี้ได้เลย
1.Shoulder Overhead Stretch
ท่าเริ่มต้น : ท่านั่งหรือท่ายืน
ลักษณะท่าทาง : เริ่มจากชูแขนข้างใดข้างหนึ่งขึ้นมา แล้วพับข้อศอกลงมา ใช้มืออีกข้างจับตรงข้อศอกแล้วออกแรงดึงแขน เพื่อให้กล้ามเนื้อแขนและไหล่ด้านข้างรู้สึกตึง
จำนวน : ค้างไว้ประมาณ 15 วินาที 3- 5 ครั้ง/เซต 3 เซต/วัน
2. Rhomboid Stretch
ท่าเริ่มต้น : ท่านั่งหรือท่ายืน
ลักษณะท่าทาง : เริ่มจากไขว่แขนมาด้านหน้าลำตัว แล้วนำแขนอีกข้างมาจับตรงศอกแล้วออกแรงดึงข้อศอกอีกข้างในทิศเฉียงลงเพื่อให้กล้ามเนื้อสะบักถูกยึดออก
จำนวน : ค้างไว้ประมาณ 15 วินาที 3- 5 ครั้ง/เซต 3 เซต/วัน
3. Upper chest stretch
ท่าเริ่มต้น : ยืนกางขาระดับไหล่
ลักษณะท่าทาง : เริ่มจากนำแขนทั้งสองข้างไปประสานกันไว้ข้างหลัง จากนั้นออกแรงดึงแขนไปด้านหลัง ให้กล้ามเนื้อบริเวณหน้าอกรู้สึกตึง ค้างไว้สักพักแล้วค่อยปล่อยออก
จำนวน : ค้างไว้ประมาณ 15 วินาที 3-5ครั้ง/เซต 3 เซต/วัน
4. Scapula retraction
ท่าเริ่มต้น : ท่ายืน
ลักษณะท่าทาง : เริ่มจากตั้งศอกขนานกับลำตัว ให้มุมของข้อศอกอยู่ที่ 90 องศา หนีบศอกให้อยู่กับลำตัว หลังจากนั้นหมุนแขนออกพร้อมกัน ให้กล้ามเนื้อสะบักด้านหลังหุบเข้าหากัน ถ้าหากอยากเพิ่มแรงต้านแนะนำให้หายางยืดมาจับไว้ที่มือทั้งสองข้างและออกแรงดึงยางยืดออกจากลำตัวพร้อมกัน ในท่านี้หากทำถูกจะรู้สึกเมื่อยกล้ามเนื้อสะบักด้านหลัง
จำนวน : 15 ครั้ง/เซต 3 เซต/วัน
5. Shoulder abduction
ท่าเริ่มต้น : ท่ายืน
ลักษณะท่าทาง : เริ่มจากหายางยืดแล้วใช้เท้าเยียบไว้ จากนั้นใช้มือจับยางยืดไว้แล้วออกแรงดึงยางยืดโดยการกางแขนออกจากลำตัว
จำนวน : 15 ครั้ง/เซต 3 เซต/วัน
6. Scapular upward / downward
ท่าเริ่มต้น : ท่ายืน
ลักษณะท่าทาง : เริ่มจากยืนหันหลังให้กำแพง โดยที่ คอ ไหล่ หลังชิดกับกำแพง หลังจากนั้นยกแขนทั้งสองข้างขึ้น ให้ยกขึ้นเหนือศีรษะจากนั้นก็เอาลง ท่านี้จะช่วยให้กล้ามเนื้อใต้สะบักทำงานในการขยับสะบักได้ดีขึ้น
จำนวน : 15 ครั้ง/เซต 3 เซต/วัน
ข้อควรระวัง
การยืดทำแค่ตึง ไม่เจ็บ ห้ามกลั้นหายใจขณะยืด หากกลั้นหายใจขณะยืดอาจจะส่งผลให้อากาศไหลเวียนไม่ดี ทำให้เกิดอาการหน้ามืดได้
ข้อแนะนำ
- ควรลุกออกจากโต๊ะทำงานทุก ๆ 2 ชั่วโมง เพื่อให้กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลาย หรือสามารถยืดกล้ามเนื้อระหว่างการพักไปได้เลย
- หากมีอาการปวดไหล่อยู่ ควรหลีกเลี่ยงการใช้งานข้อไหล่ซ้ำ ๆ เช่น การแกว่งแขนแรง ๆ หรือยกของหนัก
- หากยืดแล้วอาการปวดเพิ่มมากขึ้น ให้หยุดทำ และรีบควรไปปรึกษาแพทย์ หรือพบนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจประเมินเพิ่มเติม
นี่ก็เป็นท่าบริหารไหล่ทั้งหมด 6 ท่า นี่อยากจะแนะนำให้กับคนที่มีอาการ‘ปวดบ่า ไหล่’ หรือคนที่มีปัญหาข้อไหล่ได้นำไปออกกำลังกายกัน นอกจากนี้การยืดกล้ามเนื้อจะช่วยลดอาการ ปวดบ่า ไหล่ ให้กล้ามเนื้อเกิดความยืดหยุ่น ขยับแขนและไหล่ได้ดีขึ้น และควรออกกำลังกายควรคู่ไปด้วยเพื่อทำให้กล้ามเนื้อเกิดความแข็งแรงและสร้างความมั่นคงให้กับข้อต่อไหล่ ให้เกิดการเคลื่อนไหวที่ดีมากขึ้นอีกด้วย
ยางยืดออกกำลังกาย ตัวช่วยลดอาการปวดบ่า ไหล่
ยางยืดออกกำลังกายของทาง Bewell มีด้วยกันหลากหลายแบบเพื่อตอบโจทย์ให้กับความถนัดในการใช้ของแต่ละคน และบางรุ่นก็มีหลากหลายแรงต้านเพื่อให้เข้ากับแรงของผู้ใช้งาน เช่น ยางยืดออกกำลังกาย แบบมีห่วง รุ่น Perfect tube มีด้วยกัน 3 แรงต้าน โดยผลิตภัณฑ์ออกแบบมาให้มีลักษณะที่จับได้ง่าย ใช้งานได้ถนัดมือ ออกกำลังกายได้หลากหลายท่า และอีกตัวยางยืดออกกำลังกาย แบบยางยืดลูกโป่ง รุ่น Stretch Band ตัวจะเป็นยางยืดลูกโป่ง ที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับระดับแรงต้านได้ง่าย ๆ เพียงแค่พับทับกัน หรือจับยางยืดให้ใกล้ตัวมากขึ้น ก็เป็นการเพิ่มแรงต้านได้ง่าย ๆ แล้ว อีกทั้งยังพกพาสะดวกนำไปออกกำลังกายที่ออฟฟิศ หรือไม่ก็ฟิตเนสได้เลย