อาการไหล่ตึง ปวดบ่า ปวดไหล่ เป็นอาการยอดฮิตอย่างหนึ่งของโรคออฟฟิศซินโดรม ส่วนหนึ่งเกิดจากการนั่งทำงานนานเกินไป หรือการนั่งทำงานผิดวิธี จนเกิดผลกระทบต่อร่างกายโดยเฉพาะส่วนของหลัง บ่าและไหล่ ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้งานอย่างหนักในแต่ละวัน หลายคนไม่มั่นใจว่า อาการตึงๆ ที่ไหล่ ปวดบ่า ปวดไหล่ของเรานั้นเป็นอาการทั่วไปจากการนั่งนานๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ หรือมีความผิดปกติจนเข้าข่ายปวดบ่า ปวดไหล่ ด้วยโรคออฟฟิศซินโดรม วันนี้เราจึงจะชวนทุกคนไปเช็คสภาพไหล่ของตนเองดูด้วยวิธีง่ายๆ 4 ขั้นตอน
4 ขั้นตอนเช็คหลังบ่าไหล่ ตึงเกินไปหรือเปล่านะ
อาการปวดบ่า ปวดไหล่ หรือรู้สึกตึงจากการนั่งทำงานนานๆ เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกๆ คน เพราะในแต่ละวันเราใช้บ่าและไหล่ ในการนั่งทำงานเป็นระยะเวลานานๆ ดังนั้นเราจึงควรหันมาใส่ใจดูแลบ่าและไหล่ของเรากันสักหน่อย วันนี้มาเช็คกันดูว่า บ่าและไหล่ของเราที่เริ่มมีอาการปวดตึงนั้น ปวดตึงในระดับใดและควรจะดูแลรักษายังไงให้ดีขึ้น ว่าแล้วก็ตามมาเช็คบ่าและไหล่กันเลย
1. เริ่มจากให้ยืนหลังติดกำแพง
เริ่มต้นด้วยการยืนตัวตรง ผ่อนคลายสบายๆ เท้าทั้งสองข้างกางออกเล็กน้อย ความกว้างเท่ากับระดับความกว้างของหัวไหล่ จัดระเบียบร่างกายให้อยู่ในแนวตรง และรู้สึกสบาย
2. ยกแขนซ้ายหรือขวายกทำมุม 90 องศากับลำตัว
การเช็คอาการปวดบ่าและปวดไหล่ ต้องทำทีละข้าง ดังนั้นหากเราต้องการเช็คอาการของไหล่ขวาและบ่าด้านขวา ให้ยกแขนขวาขึ้นด้านข้างลำตัว โดยจัดระเบียบให้แขนแนบชิดกับผนังทำมุม 90 องศาหรือตั้งฉากกับลำตัว ขณะยกแขนให้คว่ำมือลง สังเกตความรู้สึกตึงของบ่าและไหล่ขวา แล้วจึงสลับไปทำด้านซ้ายอีกครั้ง
3. จากนั้นยกแขนข้างดังกล่าวขึ้นไปเรื่อยๆ ขนาบไปกับกำแพง
เมื่อยกแขนแนบชิดกำแพงอยู่ในระดับ 90 องศาได้แล้ว ให้ค่อยๆ ยกแขนข้างดังกล่าวสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยจัดระเบียบร่างกายให้ลำตัวตรงและสมดุล ขณะยกแขนขึ้นให้แขนแนบชิดกับกำแพงไปเรื่อยๆ แล้วสังเกตอาการ หรือความรู้สึกว่าเมื่อเรายกแขนถึงระดับใด เรารู้สึกปวดตึงอย่างไร รวมทั้งสังเกตว่าเราสามารถยกแขนได้ในระดับไหน
4. เช็คระดับอาการปวดบ่า ปวดไหล่ จากองศาของแขน
- แขนทำมุมได้น้อยกว่าหรือเท่ากับ45 องศา
ระดับนี้แปลว่าบ่าไหล่มีความตึงมาก กระดูกสะบักติดขัด ส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวและสมดุลของร่างกาย จำเป็นต้องรักษาหรือบรรเทาอาการด้วยการบริหารกล้ามเนื้อบ่าและไหล่ หรือทำกายภาพบำบัดหากรู้สึกเจ็บปวดรุนแรง
- แขนทำมุมได้ 45-60 องศา
ระดับนี้ ถือว่ามีการที่เคลื่อนไหวไหล่และบ่าได้ดีกว่าระดับแรก แต่ก็ยังคงมีอาการไหล่ติดหรือรู้สึกปวดเมื่อย ตึงบริเวณบ่าและไหล่อยู่บ้าง ควรจะหาเวลาในการบริหารร่างกายหรือยืดเหยียดร่างกายเพื่อคลายความตึงและเมื่อยล้า
- แขนทำมุมได้มากกว่า 60 องศา
ยินดีด้วยค่ะ นี่แปลว่าคอบ่าไหล่ของคุณอยู่ในสภาวะปกติ มีความยืดหยุ่นดี ไม่มีปัญหาที่ต้องรักษาอาการ แต่ก็ไม่ควรประมาท ควรจะดูแลสุขภาพและทำกายบริหารอยู่เสมอด้วยเช่นกัน
5 ท่าบริหารป้องกันบ่า ไหล่ ตึง
สำหรับการออกกำลังกายเพื่อลดความตึงตัวและป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อเกิดการตึงตัว สามารถทำได้ง่ายๆ ทุกที่ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน หรือออฟฟิศ ซึ่งมีทั้งท่าที่ไม่ต้องใช้อุปกรณ์และที่ต้องใช้อุปกรณ์ เพื่อความหลากหลายในการออกกำลังกายที่ทำให้ไม่น่าเบื่อ จะมีท่าอะไรบ้างไปดูกันเลย
1. ท่ายืดกล้ามเนื้อไหล่ด้านข้าง
ยืนตัวตรง ผ่อนคลายสบายๆ ชูแขนขึ้นทั้งสองข้าง แล้วพับแขนข้างใดข้างหนึ่งลงแตะที่หลังท้ายทอย และแขนอีกข้างแตะตรงศอกแล้วออกแรงดึงให้กล้ามเนื้อแขนและไหล่ด้านข้างรู้สึกตึง โดยยืดให้แค่รู้สึกตึงไม่เจ็บ
2. ยืดกล้ามเนื้อสะบัก
ยืนตัวตรง นำแขนข้างที่จะยืดพาดมาทางด้านหน้าอก แล้วเอาแขนอีกข้างมาล็อคตรงศอกไว้ แล้วออกแรงดึงกล้ามเนื้อสะบักให้รู้สึกตึง จากนั้นทำสลับอีกฝั่ง
3. ท่ายืดกล้ามเนื้อไหล่ จากด้านหลัง
ท่านี้ให้เริ่มจากยืดหรือนั่งตัวตรง ผ่อนคลายให้สบาย แล้วอ้อมมือข้างหนึ่งไปด้านหลัง แล้วจับยางยืดออกกำลังกายไว้ จากนั้นนำมืออีกข้างมาด้านหลังเช่นกันและจับปลายยางยืดอีกฝั่งจากนั้นชูแขนขึ้นเหนือศีรษะพร้อมยางยืด เป็นการบริหารกล้ามเนื้อไหล่และหลังส่วนบน โดยให้พยายามออกแรงดึงยางยืดให้ได้มากที่สุดเท่าที่ทำได้
4. ท่าเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อสะบัก
ยืนตัวตรง ผ่อนคลายสบายๆ เท้าทั้งสองข้างกางออกเล็กน้อย มือสองข้างกำยางยืดออกกำลังกายที่ระดับหน้าอก หายใจเข้า ดึงยางยืดแยกออกจากกันช้าๆ แล้วหายใจออก ผ่อนยางยืดกลับคืนสู่ตำแหน่งเดิม
5. ท่าเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อกางแขน
ในเวลาที่นั่งทำงานนานๆ เราสามารถปรับเปลี่ยนอิริยาบถง่ายๆ ด้วยการใช้ยางยืดออกกำลังกาย โดยเท้าข้างหนึ่งเหยียบห่วงแนบติดพื้น แขนแนบลำตัวตั้งฉากกับพื้น แล้วจึงออกแรงดึงยางขึ้นลงเพื่อบริหารช่วงแขนและหัวไหล่
เป็นไงกันบ้างคะ เช็คดูอาการแล้วบ่าและไหล่ของคุณมีสุขภาพที่ดีอยู่รึเปล่า ใครที่มีแนวโน้มว่าจะปวดบ่า ปวดไหล่ หรือมีอาการออฟฟิศซินโดรม ก็อย่าลืมหันมาดูแลสุขภาพและยืดกล้ามเนื้อกันบ่อยๆ เพื่อลดอาการปวดบ่า ไหล่ หลังกันด้วยนะคะ
ยางยืดออกกำลังกาย อุปกรณ์ที่จะมาช่วยบริหารบ่า ไหล่ให้หายตึง
อุปกรณ์ยางยืดออกกำลังกายตัวช่วยสุดคลาสสิกที่จะมาช่วยบริหารกล้ามเนื้อแขน บ่า ไหล่ และสะบัก ให้แข็งแรงและช่วยลดภาวะกล้ามเนื้อตึงตัวได้ โดยทาง Bewell เล็งเห็นถึงรูปแบบการออกกำลังกายที่หลากหลายจึงมียางยืดออกกำลังกายที่หลากหลายแบบ เพื่อความไม่จำเจและเลือกให้เข้ากับความถนัดของแต่ละคน ไม่ว่าจะเป็นยางยืดรุ่น Bewell Perfect Tube รุ่นยางยืดออกกำลังกายแบบมีห่วง มีสามสี สามระดับที่เลือกแรงต้านได้ หรือรุ่น Exercise strap ยางยืดออกกำลังกาย 6 in 1 ที่สามารถออกกำลังกายได้มากกว่าแขนและไหล่ สามารถใช้ออกกำลังกายขาได้ด้วย และอันที่ใช้งานได้หลากหลายและใช้งานได้ง่าย ก็คือ Bewell Stretch Band ยางยืดออกกำลังกายที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถเพิ่มแรงต้านได้ตามความใจชอบจากยางยืดเพียงแค่หนึ่งเส้นเท่านั้น ไม่ว่าจะยางยืดแบบไหนคุณก็สามารถพกพาได้ง่าย เพราะมีขนาดเล็ก เบา และสะดวกต่อการใช้งานทุกพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นที่ออฟฟิศ หรือฟิตเนส อย่ารอให้กล้ามเนื้อเกิดความตึงตัว ลองซื้อมาบริหารกล้ามเนื้อไหล่กันเถอะ
ยางยืดออกกำลังกาย แบบมีห่วงจับ | Perfect Tube
ขอบคุณข้อมูลที่มาจาก : https://www.facebook.com/JapanSalaryman/